News

HOSTEL ดีมั้ย ? วิเคราะห์เทคนิค เริ่มต้นลงทุนทำธุรกิจ เอาใจคนแบกเป้

HOSTEL ดีมั้ย ? วิเคราะห์เทคนิค เริ่มต้นลงทุนทำธุรกิจ เอาใจคนแบกเป้

BED TALK BEST BIZ ISSUE 011 HOSTEL ดีมั้ย ? วิเคราะห์เทคนิค เริ่มต้นลงทุนทำธุรกิจ เอาใจคนแบกเป้ . แม้ในยุคที่เศรษฐกิจฝืดเคือง การหาลู่ทางในการลงทุนนั้นก็ค่อนข้างยาก แต่กูรูด้านเศรษฐกิจส่วนใหญ่ต่างให้ความเห็นตรงกันว่า ถ้ามองกันยาวๆ ประเทศไทยกับการท่องเที่ยวคงอยู่คู่กันไปอีกนาน เพราะฉะนั้นการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวนั้น ยังมีโอกาสอยู่อีกมาก โดยเฉพาะนักลงทุนที่เพิ่งเริ่มต้นหรือมีทุนไม่มาก และผู้ที่มีความฝันที่จะมีรายได้แบบ passive income เหมาะที่จะเริ่มต้นด้วยการทำ โฮสเทล . แล้ว ทำไมต้องโฮสเทล ? ถ้าคุณเป็นนักลงทุนที่ไม่ได้มีเงินมากมาย “โฮสเทล” เหมาะกับคุณมาก เพราะเริ่มต้นได้ไม่ยาก ใช้เงินลงทุนไม่มาก (โฮสเทล หรือถ้าเรียกว่า“หอพักนักท่องเที่ยว อาจจะทำให้เห็นภาพมากขึ้น เพราะเป็นที่พักราคาประหยัดแบบนอนรวม ห้องน้ำรวม ซึ่งส่วนมากจะเป็นนักท่องเที่ยวแบบ Backpacker) ซึ่งถ้าเทียบกับการทำโรงแรมหรือบูติกโฮเทลแล้ว โฮสเทลใช้เงินลงทุนน้อยกว่า เช่น ในกรณีที่มีโครงสร้างอาคารอยู่แล้ว บูติกโฮเทลอาจจะต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 2-3 แสนบาท/ห้อง (และไม่ควรเกิน 1-1.5 ล้านบาท/ห้อง) แต่โฮสเทลใช้เงินเพียง 6-7 หมื่นบาท/เตียง และไม่เกิน 1.5 แสนบาท/เตียง เท่านั้น . โอกาสของมนุษย์เงินเดือน นอกจากนี้ สำหรับท่านที่เป็นมนุษย์เงินเดือนยังได้เปรียบกว่า และเริ่มต้นได้ง่ายกว่า เพราะมี “สลิปเงินเดือนเป็นหลักประกัน” สามารถนำไปขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในการซื้อ“ที่อยู่อาศัย” มาดัดแปลงเป็นโฮสเทล ซึ่งนอกจากจะดอกเบี้ยต่ำมีระยะเวลาผ่อนนานถึง30 ปีแล้ว ยังขอได้ง่ายกว่าการขอสินเชื่อเพื่อทำธุรกิจ และในกรณีที่มีห้องพักไม่เกิน 4 ห้อง คนพักไม่เกิน 20 คน และเป็นการประกอบกิจการเพื่อหารายได้เสริม จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตทำเป็นโรงแรม . การเลือกทำเลที่ตั้ง ถ้าเป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ คำสำคัญที่เราได้ยินอยู่บ่อยๆ คือ ทำเลที่ตั้ง การลงทุนทำโฮสเทลก็เช่นกัน เพราะ “ทำเล” ยังเป็นปัจจัยที่มีผลกับการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวประเภทแบกเป้ท่องโลก ทำเลเป็นหัวใจของโฮสเทลเพราะต้องเดินทางสะดวก อยู่ใกล้เมือง โดยเฉพาะถ้าไม่ได้อยู่ในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลัก เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต ยิ่งจำเป็นต้องอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ หรือใจกลางเมือง . แต่ไม่ใช่ว่าพื้นที่ไกลออกไปจะไม่มีสิทธิ...

Read more →


เมื่อโรงแรมคุณ เถื่อน ต้องทำอะไรก่อน ? สิ่งที่ต้องทำ เมื่อโรงแรมคุณเถื่อน ตามคำสั่ง ม44

เมื่อโรงแรมคุณ เถื่อน ต้องทำอะไรก่อน ? สิ่งที่ต้องทำ เมื่อโรงแรมคุณเถื่อน ตามคำสั่ง ม44

BED TALK BEST BIZ ISSUE 010 เมื่อโรงแรมคุณ เถื่อน ต้องทำอะไรก่อน ? สิ่งที่ต้องทำ เมื่อโรงแรมคุณเถื่อน ตามคำสั่ง ม44 . หลายคนคงตื่นเต้นกับข่าวที่ คสช.มีคำสั่งใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งที่ 6/2562 เรื่อง มาตรการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการประกอบธุรกิจโรงแรมบางประเภท เพื่อแก้ไขปัญหาโรงแรมเถื่อนที่ไม่มีใบอนุญาตกว่า 2 หมื่นแห่งมากกว่า 50 จังหวัดทั่วประเทศ แต่ก็มีข้อสงสัยว่าควรจะต้องทำอะไรก่อน โดยเฉพาะจากผู้ที่เปิดโรงแรมที่ไม่มีใบอนุญาต วันนี้เรามีคำตอบ . โรงแรมเถื่อน (และไม่อยากเถื่อนแล้ว) ต้องทำอะไรก่อน ? สำหรับแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนจริงๆ นั้น ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เปิดเผยว่า ต้องรอให้กระทรวงมหาดไทยออกหนังสือเวียนเพื่อซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ถึงทุกอำเภอทั่วประเทศ  แต่เบื้องต้นสิ่งที่ผู้ประกอบการโรงแรมเถื่อนที่เปิดห้องพักรายวันผิดกฎหมายจะต้องทำคือ รีบไปแจ้งกับเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) อันเป็นที่ตั้งของ โรงแรม ส่วนในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ ศูนย์บริการประชาชน กรมการปกครอง (วังไชยา) เพื่อขอเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารตามเงื่อนไข พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 และ ตรวจสอบข้อกำหนดในการก่อสร้างอาคารตามกฎหมายผังเมือง ในช่วงระยะเวลาผ่อนผันตามคำสั่ง คสช. ถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2564 . อาชีพเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม ได้รับความสนใจมากจากผู้ประกอบการที่อยากทำโรงแรมหรือที่ทำอยู่แต่ไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม เพราะติดขัดข้อกฎหมายเดิมที่ไม่เอื้อต่อโรงแรมเล็กๆ ปัจจุบัน ทั่วประเทศมีประมาณ 4 หมื่นแห่ง อนุญาตแล้ว 2 หมื่นกว่าแห่ง มีกว่า 1 หมื่นแห่งกำลังขอใบอนุญาต อีก 4 พันขอยกเว้นเรื่องผังเมือง (และ 6 พันแห่งอยู่ในเขตป่าสงวนฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบ)  แต่หลังจากมีการประกาศใช้ คำสั่ง 6/2562 มาตรการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการประกอบธุรกิจโรงแรมบางประเภท สามารถช่วยผู้ประกอบการรายเล็กได้มากขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงเปิดโรงแรมเถื่อนอีกต่อไป ที่สำคัญควรทำให้ถูกกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายส่งเสริมการประกอบอาชีพสุจริตของชุมชนเพื่อให้เศรษฐกิจมีความคล่องตัว เกิดการกระจายรายได้ การสร้างงานลดความขัดแย้งในชุมชน ซึ่งมีการนำอาคารที่พัก มาดัดแปลง บริการ ในรูปแบบโรงแรมตามแหล่งท่องเที่ยว ให้เข้ามาอยู่ในระบบง่ายต่อการตรวจสอบ ดังนั้นควรรีบดำเนินการให้เสร็จสิ้นในสองปีนี้ เพราะหลังพ้นจากปี 2564 ไปแล้วใครที่ยังทำไม่ถูกต้อง...

Read more →


เกิดข่าวดีอะไรบ้าง ? เมื่อ ม.44 ปลดล็อกโรงแรมเล็ก

เกิดข่าวดีอะไรบ้าง ? เมื่อ ม.44 ปลดล็อกโรงแรมเล็ก

BED TALK BEST BIZ ISSUE 009 เกิดข่าวดีอะไรบ้าง ? เมื่อ ม.44 ปลดล็อกโรงแรมเล็ก . ประเทศไทยมีโรงแรมที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมายอยู่ที่ราว 1.2 หมื่นแห่ง มีห้องพักถูกก.ม. ราว 3-4 แสนห้อง แต่ก็มีโรงแรมผิดกฎหมาย (ไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจ) กว่า 1.5-2 หมื่นแห่ง หรือ รวมห้องพักมากกว่า 5 แสนห้อง ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่อยากทำโรงแรมหรือที่ทำอยู่แต่ไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม เพราะติดขัดข้อกฎหมายเดิมที่ไม่เอื้อต่อโรงแรมเล็กๆ แต่หลังจากมีการประกาศใช้ ม. 44 เรื่อง มาตรการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการประกอบธุรกิจโรงแรมบางประเภท พร้อมผ่อนปรนกฏเหล็กหลายข้อ ให้โรงแรมขนาดเล็กเข้าสู่ระบบธุรกิจ และสามารถขอใบอนุญาตโรงแรมได้อย่างถูกต้องแล้ว ทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลประโยชน์  และไม่ต้องเสี่ยงเปิดโรงแรมเถื่อนอีกต่อไป . ข่าวดีอันดับ 1 ไม่ต้องจ่ายใต้โต๊ะ เป็นข่าวดีสุดๆ โดยเฉพาะกับ ธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กๆ โฮมสเตย์และ Hostel ที่รอใบอนุญาตมาเป็นชาติ หลายรายต้องสู้ทนจ่ายใต้โต๊ะให้ข้าราชการที่ชอบรีดไถทำการฉ้อราษฎร์ เบียดบังเอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง ได้หมดโอกาสทำกรรมชั่วเสียที เป็นโอกาสที่คนทำมาหากินสุจริต ไม่ว่ารายเล็กรายใหญ่ ได้ทำมาหากินในสังคมนี้เท่าเทียมกัน เนื่องจากที่ผ่านมามีการร้องเรียนผ่านศูนย์ดำรงธรรมหลายราย ในกรณีที่ถูกเจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น เรียกเงินเป็นค่าที่ปรึกษาในการทำโรงแรมให้ถูก ก.ม. หรือการถูกจับกุมระหว่างกำลังรอการพิจารณาใบอนุญาต ที่บางรายต้องจ่ายใต้โต๊ะร่วม 2-4 แสนบาท . ข่าวดีอันดับ 2 รอรับนักท่องเที่ยวที่จะมามากขึ้น ซึ่งนอกจากจะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการโรงแรมแล้ว ยังเป็นการเปิดกว้างต่อกลุ่มนักท่องเที่ยวแบบทางเลือก คนรุ่นใหม่หรือคนที่ไม่ได้มีเงินเที่ยวมากมายนัก ก็สามารถหาที่พักดีๆ เลือกที่พัก ตามราคาที่เหมาะสมได้ง่ายขึ้น  เที่ยวในแบบที่สามารถจ่ายหรือพอจะลำบากได้นิดหน่อย เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดผลต่อคนรากหญ้ามากขึ้น เพราะการท่องเที่ยวเป็นวิธีเดียวที่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว "ดึงเงิน" จากกระเป๋าผู้บริโภคทั้งจากในประเทศและต่างชาติ  ซึ่งก็คือนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้ง่ายที่สุด . ข่าวดีอันดับ 3 เปิดโรงแรมได้ต่อไปได้ในระหว่างรอยื่นขอใบอนุญาต นอกจากการออกม.44 ในครั้งนี้จึงเป็นการปลดล็อกปัญหาในเรื่องข้อกฎหมายผังเมือง และ พรบ ควบคุมอาคารแล้ว ยังแก้ปัญหาในกรณีที่ระหว่างการยื่นขออนุญาต ธุรกิจก็ยังคงสามารถดำเนินธุรกิจได้ต่อไปโดยไม่หยุดชะงัก ไม่ต้องปิดโรงแรม . ข่าวดีอันดับ 4 คำสั่งมีผล 2 ปี ควรรีบดำเนินการให้ถูกต้อง การผ่อนผันตาม...

Read more →


เมื่อ ม.44 ปลดล็อกโรงแรมเล็ก โอกาสทองของโรงแรมเล็ก ที่อยากได้ใบอนุญาต

เมื่อ ม.44 ปลดล็อกโรงแรมเล็ก โอกาสทองของโรงแรมเล็ก ที่อยากได้ใบอนุญาต

หลายท่านคงทราบแล้วว่าการออกคำสั่งผลักดันให้โรงแรมเถื่อนเข้าระบบมีผลบังคับใช้ทันที และมีประโยชน์กับผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศไทยจำนวนมาก แน่นอนว่าเรื่องนี้คงไม่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการโรงแรมที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมอย่างถูกต้องแล้ว แต่คงเป็นปัญหาสำหรับหลายท่านที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้เสร็จสิ้น . ซึ่งวันนี้ประเทศไทยมีโรงแรมที่จดทะเบียนถูกต้องตามก.ม.อยู่ที่ราว 1.2 หมื่นแห่ง มีห้องพักถูกก.ม.ราว 3-4 แสนห้อง แต่ก็มีโรงแรมผิดกฏหมาย(ไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจ) กว่า 1.5-2 หมื่นแห่ง หรือ รวมห้องพักมากกว่า 5 แสนห้อง ที่ยังผิดกฏหมาย . เรามาวิเคราะห์กันว่า การออกคำสั่งมาตรา44ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ที่ 6/2562 เรื่อง “มาตรการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการประกอบธุรกิจโรงแรมบางประเภท” เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2562 ส่งผลดีและเปิดโอกาสแก่ผู้ประกอบการท่านใดและอย่างไรบ้าง . โรงแรมเล็กที่ยังไม่มีใบอนุญาต นั่นก็คือ ธุรกิจโรงแรมประเภทที่ 1 (มีห้องพักอย่างเดียวไม่เกิน 50 ห้อง) และธุรกิจโรงแรมประเภทที่ 2 (มีบริการห้องพักอย่างเดียวเกิน 50 ห้อง หรือมีบริการเฉพาะห้องพักและห้องอาหาร) ซึ่งล้วนเป็นผู้ประกอบการโรงแรมขนาดเล็ก ที่สร้างก่อนปี 2559 และอยู่ระหว่างการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม มีโอกาสได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม โดยจะไม่ติดขัดเรื่องกฏหมายผังเมือง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร และสามารถดำเนินธุรกิจได้ต่อไปโดยไม่ต้องหยุด  รวมทั้งป้องกันการถูกเรียกรับสินบนใต้โต๊ะจากเจ้าหน้าที่ กำจัดข้อติดขัดเรื่องกฏหมายผังเมือง และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร เนื่องจากที่ผ่านมาแม้ภาครัฐ จะออกกฎกระทรวงปี2559 โดยเปิดโอกาสคนในท้องถิ่นหรือชุมชน โดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ สามารถนำตึกแถวหรืออาคารประเภทอื่น มาปรับปรุงมาตรฐาน เพื่อเปิดให้บริการเป็นโรงแรมประเภทที่ 1 และ 2 สามารถยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจได้อย่างถูกต้อง แต่ในทางปฏิบัติพบว่ายังติดขัดในเรื่องของก.ม.ผังเมือง เช่น บางพื้นที่กำหนดให้เป็นพื้นที่สีเขียว ทำเกษตรกรรม ไม่สามารถใช้ทำโรงแรมได้ รวมถึงติดขัดพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ที่ไม่อนุญาตให้ดัดแปลงอาคารมาทำโรงแรมได้ หรือ กรณีที่โรงแรมเป็นอาคารควบคุมสิ่งที่มาสร้างโรงแรมทั้งหมดต้องใช้วัสดุทนไฟ คือการก่ออิฐถือปูน ไม่ สามารถใช้ไม้ หรือหลังคามุงจากได้ เป็นต้น ซึ่งสวนทางกับรูปแบบการก่อสร้างของโรงแรมขนาดเล็ก ทำให้กลายเป็นว่าไม่สามารถขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรม ตามกฎกระทรวงปี 2559 ได้ . ที่ผ่านมาผู้ประกอบการที่มีห้องพักเฉลี่ยไม่เกิน 30 ห้อง จำนวนกว่า 5,000 โรงแรมรวมห้องพักกว่า 1.5 แสนห้อง ได้ยื่นขอประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎกระทรวงฯ ปี2559 แต่ติดปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องผังเมืองและพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร การออกม.44 ที่เกิดขึ้นก็เป็นการผ่อนผันยกเว้นให้ไม่ต้องปฏิบัติตามก.ม.ผังเมืองรวม รวมถึงไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับผังเมืองรวมและข้อบัญญัติท้องถิ่นที่กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง...

Read more →


เพศใหม่ ตลาดใหญ่การโรงแรม

เพศใหม่ ตลาดใหญ่การโรงแรม

เพศใหม่ ตลาดใหญ่การโรงแรม เอาใจกลุ่ม LGBT ให้ดี  แล้วโรงแรมคุณจะมีความสำเร็จ !! นักท่องท่องเที่ยวกลุ่ม LGBT (Lesbian, Gay, Bisexual, และ Transgender) หรือกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศนั้น เป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายที่ทรงพลังที่สุดที่ผู้ประกอบการธุรกิจ ค้าขาย บริการและนักการตลาดสมัยใหม่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ชายเกย์ ที่ข้อมูลระบุว่า เป็นกลุ่มที่ชอบท่องเที่ยวเดินทาง  มีกำลังการใช้จ่ายในขั้นสูง และเป็นนักเดินทางที่มีคุณภาพ ซึ่งเริ่มเป็นที่สนใจของเชนโรงแรมและที่พักทางเลือกหลายแห่ง แน่นอนว่าผู้ประกอบการรายเล็กและรุ่นใหม่อย่างเราๆ ควรต้องหันมาให้ความสำคัญ ทำความเข้าใจ เคารพคุณลักษณะและความต้องการเฉพาะของคนกลุ่มนี้ให้มากขึ้น หากหวังจะประสบความสำเร็จ โดยยกระดับมาตรฐานคุณภาพการบริการและมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่คนกลุ่มนี้   . และนี่คือข้อแนะนำที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการโรงแรมเข้าใจผู้ชมการท่องเที่ยว LGBT ได้ดีขึ้นและบรรลุเป้าหมายที่ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพมากที่สุด . เคล็ดลับการบริการ สำหรับลูกค้า LGBT 1. ให้บริการที่เท่าเทียมกับแขกของคุณทั้งหมด ตัวอย่างเช่นแม้ว่าการแต่งงานเกย์จะไม่ได้รับอนุญาตในประเทศไทย แต่สามารถเสนอพิธีแต่งงานที่เป็นสัญลักษณ์หรืองานแต่งงานที่โรแมนติกสำหรับคู่รักเกย์และเลสเบี้ยน 2 ฝึกอบรมและให้ความรู้แก่พนักงานในเรื่องความหลากหลายทางเพศ เปิดใจ ทำและให้บริการอย่างเท่าเทียมสำหรับแขกทุกเพศทุกวัย ไม่มีการเหยียดหยามหรือใช้กิริยาไม่เหมาะสม 3 ศึกษาข้อมูลโดยรอบพื้นที่โรงแรมว่ามีการจัดงานหรือสถานที่ใดที่เหมาะกับแขกประเภทนี้ที่สามารถไปใช้ได้ เช่น สถานที่ท่องเที่ยว ผับ หรือ กิจกรรมดนตรี ภาพยนตร์ การแสดง ฯลฯ 4 สร้างสรรค์และพัฒนาแบรนด์ให้ชาว LGBT ทราบว่าโรงแรมของคุณเปิดกว้าง โดยประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชี่ยลมีเดียหรือสื่ออย่างชาญฉลาด เช่น ลงภาพแขกคู่รักเลสเบี้ยนที่ยิ้มแย้มมีความสุขและแสดงความขอบคุณที่มาใช้บริการ 5 สนับสนุนชุมชนเกย์ ไม่มีการเลือกปฏิบัติ และให้ความเคารพ . สิ่งสำคัญคือคุณต้องต้อนรับและบริการพวกเขาด้วยความเป็นธรรมชาติไม่ต่างจากแขกทั่วไป นี่คือตัวอย่างวิธีปฏิบัติเมื่อคุณได้ต้องรับแขก LGBT เช่น 1 ถ้าผู้ชายสองคนหรือผู้หญิงสองคนมาถึงโรงแรมเพื่อเช็คอินและคุณรู้ว่าพวกเขาเป็นคู่รัก อย่าพยายามพิสูจน์พวกเขาเป็นเกย์ เพราะจะเน้นย้ำแนวคิดเรื่องการเลือกปฏิบัติ ให้ปฏิบัติไปตามธรรมชาติ หากครอบครัวเกย์มาที่โรงแรมอย่าตื่นเต้นหรือมีอาการมากเกินไป สิ่งที่อาจดูแปลกสำหรับคุณอาจเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติมากในประเทศบ้านเกิดของแขก 2 ถ้าชาย 2 คนมาเช็คอินที่แผนกต้อนรับคุณไม่ควรถือว่าการจองห้องเตียงเดี่ยวนั้นเป็นความผิดพลาดและให้พวกเขาเป็นห้องเตียงคู่ นี่จะทำให้ลูกค้าของคุณอึดอัด ในทางกลับกันคุณไม่ควรคิดว่าพวกเขาเป็นคู่รักกัน เพียงยืนยันการจองตามที่ได้ทำ และดำเนินการต่อกับขั้นตอนที่เหลือให้เป็นปกติ หรือ 3 ถ้าหากผู้หญิงคนหนึ่งมอบหนังสือเดินทางให้แต่เป็นชื่อผู้ชายอย่าแปลกใจ คุณไม่จำเป็นต้องเน้นความจริง ส่วนใหญ่แขกจะแจ้งให้คุณทราบชื่อที่เธอต้องการซึ่งคุณสามารถใช้เพื่อพูดคุยกับเธอในระหว่างที่เธอพักที่โรงแรมได้ . สิ่งสำคัญคืออย่าลืมสื่อสารว่าโรงแรมของคุณเป็นมิตรกับทุกเพศ การสื่อสารโดยใช้รูปภาพคือคำยืนยันที่ดีที่สุด แต่ระวังอย่าจงใจใช้มากไป การใช้รูปผู้ชายหรือผู้หญิงยืนคนเดียวและมีที่ว่างด้านข้างน่าจะเหมาะสม หรืออาจมีภาพผู้ชายหรือผู้หญิงคู่กันแต่อยู่คนละระยะ...

Read more →