มาตรฐานการท่องเที่ยวที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท (HOMESTAY)

jirayuth yuddon

กรมการท่องเที่ยว

154 สนามกีฬาแห่งชาติ ถ.พระราม 1

เขตปทุมวัน กทม. 10330

โทร/แฟกซ์ 02-216-6512

 

ความหมาย

โฮมสเตย์ (Home stay) หมายถึง การท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่ง ที่นักท่องเที่ยวจะต้องพักรวมกับเจ้าของบ้านชายคาเดียวกัน โดยมีห้องพักหรือพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านเหลือสามารถนำมาดัดแปลงให้นักท่องเที่ยวได้พักชั่วคราว ซึ่งมีจำนวนไม่เกิน 4 ห้อง มีผู้พักรวมกันไม่เกิน 20 คนโดยมีค่าตอบแทน และจัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวกตามสมควร อันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการเพื่อหารายได้เสริม ซึ่งเป็นไปตามบทนิยามคำว่า “โรงแรม” แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 และได้ขึ้นทะเบียนกับกรมการท่องเที่ยว ตามหลักเกณฑ์ที่กรมการท่องเที่ยวกำหนด

 

ความเป็นมา : นโยบายของรัฐบาล

♦  มุ่งเน้นการกระจายอำนาจสูท้องถิ่น

♦  เน้นการพัฒนาชุมชน

♦  ให้ความสำคัญกับการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน

♦  ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนา

♦  ทำให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลายในชุมชน

♦  ปี พ.ศ. 2546 กรมการท่องเที่ยวจัดทำมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย

 

วัตถุประสงค์

1.  ส่งเสริมให้ชุมชนมีการจัดทำโฮมสเตย์ เพื่อ

•  สร้างงาน สร้างรายได้

•  เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ และยั่งยืน

2.  ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาโฮมสเตย์

•  ให้มีมาตรฐาน

•  เข้าสู่กระบวนการตรวจรับรอง

3.  ส่งเสริมให้การพัฒนาโฮมสเตย์

•  เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวโดยชุมชน

•  คำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ

•  ดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

•  ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและรับประโยชน์อย่างเป็นธรรม

 

 

 

กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกฎกระทรวง

การกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551

หมวดที่ 1 สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมและประเภทโรงแรม

ข้อ 1.   ให้สถานที่พัก มีห้องพักในอาคารเดียวกัน หรือหลายอาคารรวมกันไม่เกิน 4 ห้องและมีผู้พักรวมกันไม่เกินทั้งหมด 20 คนตั้งขึ้น เพื่อบริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง โดยมีค่าตอบแทน ที่มีลักษณะเป็นการประกอบกิจการเพื่อหารายได้เสริม และได้แจ้งนายทะเบียนทราบ ไม่เป็นโรงแรม (3) ของนิยามคำว่าโรงแรมในมาตรา 4

 

การประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551

“ธุรกิจนำเที่ยว” หมายความว่า ธุรกิจเกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวหรือเดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่น โดยจัดให้มีการบริการหรืออำนวยความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง อันได้แก่ สถานที่พัก อาหาร มัคคุเทศก์ หรือบริการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ดังนั้น การจัดนำเที่ยวในธุรกิจโฮมสเตย์ จึงต้องได้รับใบอนุญาตดำเนินการจากนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวสาขาที่มีอำนาจ โดยยื่นคำขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทเฉพาะพื้นที่ สามารถดำเนินการนำเที่ยวได้ภายในจังหวัดที่ได้รับอนุญาตและพื้นที่ที่ติดต่อกัน

 

การประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551

ค่าใช้จ่ายในการขอรับใบอนุญาต

1.  ค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจนำเที่ยว 1,000 บาท

2.  ค่าใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 2,000 บาท

3.  หลักประกันวางต่อนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (กรณีเฉพาะพื้นที่) 10,000 บาท (หลักประกันจะได้รับคืนเมื่อเลิกกิจการประกอบธุรกิจนำเที่ยว)

 

 

ประกาศกรมการท่องเที่ยว

เรื่อง กำหนดมาตรฐานบริการท่องเที่ยวตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย พ.ศ. 2554

หมวด 1 บทนิยาม

หมวด 2 มาตรฐานตัวชี้วัด

หมวด 3 วิธีการและเกณฑ์การประเมินมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย

หมวด 4 ตราสัญญาลักษณ์

หมวด 5 การพิจารณาเรื่องร้องเรียนและอุทธรณ์

 

 

 

ประกาศกรมการท่องเที่ยวว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยพ.ศ. 2554

 

 

ประกาศกรมการท่องเที่ยวว่าด้วยการประเมินมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย

 

หมายถึงกระบวนการและวิธีการตรวจสอบประเมินมาตรฐาน  มีคณะกรรมการมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย  มีคณะกรรมการประเมินมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยในระดับจังหวัด

หลักเกณฑ์วิธีการประเมิน แบบประเมิน ใบสมัครขอรับการประเมิน

 

 

ประเภทของโฮมสเตย์

•  โฮมสเตย์ทั่วไป

•  โฮมสเตย์ตามมาตรฐานกรมการท่องเที่ยว

 

กรอบคิดในการจัดทำ Home Stay

•  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

•  การพัฒนาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และจิตวิญาณให้สมดุลกันเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

•  ชุมชนเป็นเจ้าของกิจการเอง

•  รายได้จากโฮมสเตย์และการท่องเที่ยวเป็นเพียงรายได้เสริม มิใช่รายได้หลักของชุมชน

•  การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นประเด็นหลักในการบริหาร จัดการโฮมสเตย์

•  ชุมชนต้องมีความเข้มแข็ง มีความรู้เท่าทันสิ่งที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงและเข้าใจวัตถุประสงค์ของสิ่งที่ตนกำลังดำเนินการ

•  ผู้ประกอบการรายเดียวและไม่ทำในนามกลุ่มไม่เข้าข่ายที่จะขอรับมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย เพราะจัดอยู่ในการดำเนินการคล้ายรีสอร์ท หรือ เกสต์เฮาส์

•  ทุกฝ่ายตั้งแต่รัฐบาล ชุมชน ไปจนถึงผู้ประกอบการจะต้องเข้าใจโฮมสเตย์ไปในทิศทางเดียวกัน

•  ไม่ใช่ทุกหมู่บ้านจะต้องมีโฮมสเตย์ ต้องคำนึงถึงความพร้อม ความรู้ ความเข้าใจของชุมชนเป็นสำคัญ

•  เน้นจุดขายอยู่ที่วิถีชีวิตดั่งเดิมของชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่น่าสนใจ

•  มีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(ธรรมชาติ + วัฒนธรรม)

 

คุณสมบัติเบื้องต้นของโฮมสเตย์ 10 ประการ

1.  เจ้าของบ้านและสมาชิกในครอบครัวต้องถือการทำโฮมสเตย์เป็นรายได้เสริมนอกเหนือจากรายได้จากอาชีพหลักของครอบครัวเท่านั้น

2.  มีพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านเหลือและไม่ได้ใช้ประโยชน์ สามารถนำมาดัดแปลงให้นักท่องเที่ยวเข้าพักได้

3.  นักท่องเที่ยวต้องเข้าพักค้างแรมในบ้านเดียวกับเจ้าของบ้านอาศัยโดยมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม และวิถีชีวิตระหว่างกัน

4.  สมาชิกในครอบครัวมีความยินดีและเต็มใจที่จะรับผิดชอบนักท่องเที่ยวให้เข้ามาพักค้างแรมในบ้าน พร้อมทั้งถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นนั้นแก่นักท่องเที่ยว

5.  เจ้าของบ้านและสมาชิกในครอบครัวให้ความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการโฮมสเตย์เป็นอย่างดี

6.  บ้านนั้นควรเป็นสมาชิกของกลุ่ม ชมรม หรือ สหกรณ์ที่ร่วมกันจัดการโฮมสเตย์ของชุมชนนั้น

7.  จำนวนหลังคาเรือนที่เป็นสมาชิกของกลุ่มโฮมสเตย์ อย่างน้อย 3 หลังคาเรือน

8.  บ้านที่ขอรับการประเมินทุกหลัง ต้องมีเลขที่บ้าน ที่ออกโดยส่วนราชการ

9.  ที่ตั้งของชุมชนหรือกลุ่มโฮมสเตย์ ต้องไม่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ เช่น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นต้น ยกเว้นจะได้รับอนุญาต

10. ดำเนินการจัดทำโฮมสเตย์ตามข้อกำหนดมาตรฐานโฮมสเตย์ของกรมการท่องเที่ยวมาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน

 

กรอบดัชนีชี้วัดคุณภาพมาตรฐานการจัดการ Home Stay

มาตรฐานที่ 1 ด้านที่พัก

1.1 ลักษณะบ้านพักที่เป็นสัดส่วน

1.2 ที่พักที่นอนสะอาด และสบาย

1.3 มีห้องอาบน้ำ และห้องส้วมที่สะอาดมิดชิด

1.4 มุมพักผ่อนภายในบ้านหรือชุมชน
มาตรฐานที่ 2 ด้านอาหาร

2.1 ชนิดของอาหาร และวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหาร

2.2 ที่น้ำดื่มที่สะอาด

2.3 มีมีภาชนะที่บรรจุอาหารที่สะอาด

2.4 มีห้องครัวและอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวมีความสะอาด

อุปกรณ์ที่ใช้ในครัวสะอาดถูกสุขลักษณะ เช่น

1. เตาไฟ หรือ เตาแก๊ส

2. ตู้กับข้าว หรือฝาชี

3. อุปกรณ์/เครื่องปรุงต่างๆ  ในครัว เช่น พริก หอม กระเทียม กะปิ น้ำปลา

มาตรฐานที่ 3 ด้านความปลอดภัย

3.1 การเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

3.2 มีการจัดระบบดูแลความปลอดภัย

มาตรฐานที่ 4 อัธยาศัยไมตรีของเจ้าของบ้านและสมาชิกในครัวเรือน

4.1 การต้อนรับและการสร้างความคุ้นเคย

4.2 การสร้างกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ในวิถีชีวิตของชุมชน

มาตรฐานที่ 5 รายการนำเที่ยว

5.1 มีรายการนำเที่ยวที่ชัดเจนสำหรับนักท่องเที่ยวซึ่งต้องผ่านการยอมรับจากชุมชน

•  การเดินป่า

•  มีกิจกรรมฝึกหัดศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น ทอผ้า จักสาน ฯลฯ

•  มีกิจกรรมบันเทิง

5.2 ข้อมูลกิจกรรมการท่องเที่ยว

5.3 เจ้าของบ้านเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นหรือประสานงานให้มัคคุเทศก์ท้องถิ่นนำเที่ยว

มาตรฐานที่ 6 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6.1 ชุมชนมีแหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชนหรือแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง

6.2 การดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยว

6.3 มีแผนงานหรือมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการท่องเที่ยว และลดภาวะโลกร้อน

6.4 มีกิจกรรมในการลดผลกระทบจากการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน

มาตรฐานที่ 7 ด้านวัฒนธรรม

7.1 การดำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่น

7.2 รักษาวิถีชีวิตชุมชน คงไว้เป็นกิจวัตรปกติ

มาตรฐานที่ 8 ด้านการสร้างคุณค่า และมูลค่าของผลิตภัณฑ์

8.1 ผลิตภัณฑ์จากชุมชนเพื่อเป็นของที่ระลึก ของฝาก หรือจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว

•  ด้านการสร้างคุณค่า และมูลค่าของผลิตภัณฑ์

•  การสร้างคุณค่า

8.2 ผลิตภัณฑ์ที่สร้างคุณค่าและมูลค่าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน

มาตรฐานที่ 9 การบริหารของกลุ่มโฮมสเตย์

9.1 การรวมกลุ่มของชาวบ้าน

- โฮมสเตย์บ้านแม่กำปอง กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ (สหกรณ์)

- ชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เกาะยาวน้อย จ.พังงา (ชมรม)

- กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองรางจระเข้ จ.พระนครศรีอยุธยา (กลุ่ม)

- โฮมสเตย์บ้านบุไทร

- โฮมสเตย์บ้านปราสาท

9.2 คณะกรรมการกลุ่มโฮมสเตย์

รายชื่อคณะกรรมการหมู่บ้านท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์ บ้านหนองหลุ่ม จังหวัดมุกดาหาร

นายแสวง           ยืนยง           ประธาน           (ผู้ใหญ่บ้าน)

นายพุทธา          ยืนยง           รองประธาน      (อ.บ.ต.)

นายอภินันท์        โพธ์ไทร       จัดสถานที่        (ผู้นำเยาวชน)

นางผัสดาวรรณ    ผดุงทรัพย์     จัดอาหาร         (ประธานกลุ่มสตรี)

นายเอื้อชัย         คำปาน          เหรัญญิก         (อจญ.ร.ร.บ้านโคกหนองหล่ม)

9.3 กฎ กติกา การทำงานของคณะกรรมการ

ระเบียบบ้านพักเมืองปอนโฮมสเตย์

1.  การติดต่อประสานงาน

•  จะต้องติดต่อประสานงานล่วงหน้าไม่น้อยว่า 3 วัน

•  ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะต้องแจ้วล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน

•  วางเงินมัดจำ 20 %

2.  สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาพัก

•  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

•  ห้ามดื่มสุราและส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้าน

•  ห้ามเล่นการพนันในที่พัก

•  ห้ามพกพาอาวุธทุกชนิด

•  ห้าทำอนาจารในที่พัก

•  ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมของหมู่บ้าน

3.  สำหรับบ้านพักโฮมสเตย์

•  มีอัธยาศัยที่ดีต่อนักท่องเที่ยว

•  รักษาความสะอาด

•  รักษาความปลอดภัย

•  ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว

4.  อัตราค่าบริการ

ค่าที่พักรวมอาหาร 2 มื้อ 350 บาท/คน/คืน

5.  การบริหารจัดการกลุ่มบ้านพักโฮมสเตย์

•  ดำเนินการโดยมีคณะกรรมการที่มาจากทุกบ้านพัก

•  รายได้ 10 % หักเข้ากลุ่มเพื่อเป็นกองทุน การบริหาร การประชาสัมพันธ์ และการอำนวยความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว

9.4 มีการกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม

9.5 ระบบการจอง การลงทะเบียน และการมัดจำล่วงหน้า

9.6 รายละเอียดของค่าธรรมเนียมและบริการต่างๆ ที่ขัดเจนและเป็นปัจจุบัน

 

แบบฟอร์มการลงทะเบียน

ชื่อ (Name)………………………………………………นามสกุล (Surname)…………………………………………………..

ที่อยู่ (Address)…………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………..

วันที่เข้าพัก (Check in date)………………………………………………………………………………………………………...

วันที่ออก (Check out date)………………………………………………………………………………………………………….

วัตถุประสงค์ที่มาท่องเที่ยว (Trip Objective)…………………………………………………………………………………....

ข้อมูลจาก (Information source)…………………………………………………………………………………………………..

กิจกรรมที่ต้องการ (Interesting activities)……………………………………………………………………………………....

…………………………………………………………………………………………………………………………………………....

มาตรฐานที่ 10 ด้านประชาสัมพันธ์

10.1 เอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมชน

10.2 แผนการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์
Homestaythai.tourism.go.th

คณะกรรมการอำนวยการประเมินมาตรฐานโฮสเตย์ไทย

•  มีจำนวนทั้งสิ้น 22 คน

•  อธิบดีกรมการท่องเที่ยว เป็นประธาน รองอธิบดีกรมการท่องเที่ยว เป็นรองประธาน

•  ผู้แทนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

•  ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

•  ผู้แทนสถาบันการศึกษา

•  ผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

•  ผู้แทนจากภาคเอกชน

•  ผู้แทนจากโฮมสเตย์ที่ผ่านการประเมินมาตรฐานไทยจากภาคต่างๆ

•  ผู้แทนกรมการท่องเที่ยว

คณะกรรมการตรวจประเมินโฮมสเตย์ประจำจังหวัด

•  ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน

•  พัฒนาการจังหวัดหรือผู้แทน

•  นายแพทย์สาธารณสุขหรือผู้แทน

•  ผู้อำนวยการททท. ภาค หรือผู้แทน

•  ผู้แทนสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านการท่องเที่ยว

•  นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว

•  ผู้แทนคณะกรรมการอำนวยการฯ

•  ผู้แทนกรมการท่องเที่ยว

•  ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของโฮมสเตย์

•  การมีส่วนร่วม

•  การกระจายบทบาทการทำงาน

•  การกระจายผลประโยชน์และรายได้

•  มีระบบการทำงานที่โปร่งใส

•  มีมาตรการในการควบคุมและป้องกันผลกระทบทางสังคม



Older Post Newer Post