5 เส้นทางของผู้บริโภคยุคใหม่

jirayuth yuddon

5 เส้นทางของผู้บริโภคยุคใหม่

เมื่อในปัจจุบันผู้บริโภคไม่เชื่อในตัวแบรนด์จึงเป็นวิกฤติของการทำธุรกิจเพราะเราไม่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้จากการโฆษณาเหมือนสมัยก่อน ผู้บริโภครู้ทันสื่อมากยิ่งขึ้น มีความสามารถแยกโฆษณาออกเราจึงต้องหาวิธีที่จะรับมือเพื่อให้ผลกำไรอยู่กับธุรกิจเราต่อไป

ในปัจจุบันเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า ผู้บริโภคมีวิธีการหาข้อมูลที่หลากหลายช่องทาง

ไม่ว่าจะเป็นการอ่านจากรีวิวของลูกค้าด้วยกันเอง ผ่านทาง Social Network ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Pantip , Facebook , Twitter , Instagram ฯลฯ

ยิ่งในปัจจุบันไม่ใช่แค่การเข้าไปเสพข้อมูลอย่างเดียว แต่ยังเป็นผู้บอกต่อให้ผู้อื่นได้เสพและเข้าถึงข้อมูลโดยปราศจากการปรุงแต่งผ่านทาง Social Network ที่มีไม่ว่าจะเป็นการเขียนบทความ ภาพถ่าย วิดีโอ ล้วนแล้วถูกถ่ายทอดจากประสบการณ์ที่ผู้บริโภคได้พบเจอมาทั้งสิ้น

“แล้วเราจะทำยังไงดีหละ ในเมื่อผู้บริโภครู้ทันเราไปซะทุกอย่าง”

วันนี้ผู้เขียนจะมาบอกเคล็ดลับในการชนะใจลูกค้ากับสิ่งที่เรียกว่า 5 เส้นทางของผู้บริโภคยุคใหม่

ซึ่งเจ้าตัว 5 เส้นทางของผู้บริโภคยุคใหม่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Philip Kotler บริดาของนักการตลาดเรานั้นเอง ซึ่งถูกเขียนไว้ในตำรา Marketing 4.0

ซึ่งวันนี้ผมจะมาอธิบายพร้อมยกตัวอย่างทั้ง 5A’s เพื่อให้นำไปปรับใช้กับธุรกิจกันอย่างง่ายๆนะครับ

A1 = Aware ช่วงที่ผู้บริโภครู้จักแบรนด์เราจากช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Pantip , Facebook , Twitter , Instagram หรือคำแนะนำจากเพื่อน

A2 = Appeal คือ ความดึงดูดของธุรกิจที่ทำให้ผู้บริโภคเริ่มอยากที่จะลงมือหาข้อมูลต่อเกี่ยวกับแบรนด์ที่ตนสนใจผ่านทางช่องทางต่างๆ

A3 = Ask คือ ช่วงที่ผู้บริโภคเริ่มลงมือหาของมูลด้วยตัวเองจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน Blogger , Youtuber หรือ Influencer ต่างๆ เพื่อจะนำแบรนด์ต่างๆ มาเปรียบเทียบและกระกอบการตัดสินใจ

A4 = Act คือ ช่วงที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ แล้วร่วมไปถึงการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ในด้านต่างๆ ไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่การซื้อเท่านั้น

A5 =Advocate คือ ช่วงที่ผู้บริโภคเกิดความประทับใจสูงสุดจนกลายเป็นความภักดีต่อแบรนด์ เมื่อเวลาแบรนด์เกิดวิกฤติผู้บริโภคเหล่านี้จะออกมาปกป้องแบรนด์เองโดยที่แบรนด์ไม่ต้องร้องขอ

โมเดล 5A’s เป็นเครื่องมือที่มีความหยืดหยุ่น สามารถนำไปปรับใช้ได้กับหลายธุกิจ ถ้านำมาอธิบายพฤติกรรมผู้บริโภค ก็จะสามารถทำให้เห็นภาพใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด นอกจากนี้สามารถนำมาเปรียบเทียบกับเพื่อที่จะได้เห็นลักษณะเฉพาะของแต่ละธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ตัวอย่างในธุรกิจโรงแรม
A1 = Aware
นักท่องเที่ยวเห็นที่พักของเราผ่านทาง Facebook ของเพื่อนคนหนึ่ง

A2 = Appeal คือ ที่พักขอเราถูกออกแบบได้อย่างลงตัว มีความสอดคล้องกับชุมชนโดยรอบ

A3 = Ask คือ นักท่องเที่ยวเริ่มหาข้อมูลจากเพื่อนที่เคยมาพักโรงแรมของเราหรือจาก Social Network ต่างๆอ่านจากรีวิวของนักท่องเที่ยวคนอื่นที่เคยมา เพื่อที่จะเปรียบเทียบความคุณค่าที่ได้รับกลับมา

A4 = Act คือ นักท่องเที่ยวตัดสินใจเข้าพัก หรือแม้กระทั่งออกจากที่พักไปก็ยังมามีส่วนร่วมกับเราใน Facebook fan page เช่น Like , Comment , Share

A5 =Advocate คือ หลักจากการเข้าใช้บริการเมื่อนักท่องเที่ยวพึ่งพอใจต่อที่พักของเราจึงบอกต่อผ่านเพื่อนๆ ใน Social Media หรือจะเป็นการออกมาปกป้องโรงแรมของเราเมื่อโรงแรมของเราเจอวิกฤติ

 

เป็นยังไงบ้างครับกับข้อมูลที่ทางเราได้รวบรวมมาให้อ่านกันในวันนี้

หวังว่าสิ่งที่เราได้นำเสนอจะมีประโยชน์ไม่มาก็น้อยกับคนที่ริเริ่มทำธุรกิจหรือได้ทำการเริ่มไปแล้วยังไงทางเรา theboutiqueking ก็ขอให้ท่านประสบความสำเร็จเร็ววันนะครับ

อ้างอิง marketing 4.0 Philip Kotler

แวะมาพูดคุยกันได้ที่

https://www.facebook.com/boutiquehotelworld/

สั่งซื้อหนังสือและคลาสสัมมนาต่างๆ

https://shop.theboutiqueking.com/collections/all



Older Post Newer Post