News
HOW TO HOMESTAY
HOW TO > HOMESTAYอยากทำ โฮมสเตย์ ให้สำเร็จ ต้องอ่านสิ่งนี้ สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนและมีความฝันว่าจะทำธุรกิจโฮมสเตย์เป็นกิจการเล็ก ๆ ของตัวเอง และสำหรับผู้ที่ทำไปแล้วแต่ยังกลุ้มใจกับการขอใบอนุญาตก็สามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้ถูกต้อง ความหมายของ โฮมสเตย์ (Home Stay) โฮมสเตย์ หมายถึง การท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่ง ที่นักท่องเที่ยวจะต้องพักรวมกับเจ้าของบ้านชายคาเดียวกัน โดยมีห้องพักหรือพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านเหลือสามารถนำมาดัดแปลงให้นักท่องเที่ยวได้พักชั่วคราว ซึ่งมีจำนวนไม่เกิน 4 ห้อง มีผู้พักรวมกันไม่เกิน 20 คนโดยมีค่าตอบแทน และจัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวกตามสมควร อันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการเพื่อหารายได้เสริม ซึ่งเป็นไปตามบทนิยามคำว่า “โรงแรม” แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 และได้ขึ้นทะเบียนกับกรมการท่องเที่ยว ตามหลักเกณฑ์ที่กรมการท่องเที่ยวกำหนด ประเภทของโฮมสเตย์ โฮมสเตย์ทั่วไป โฮมสเตย์ตามมาตรฐานกรมการท่องเที่ยว ในปัจจุบันนี้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ทั้งในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและ ชาวต่างประเทศ มีการจัดกิจกรรม การท่องเที่ยวในแหล่งชุมชน เพื่อศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม หัตถกรรมของท้องถิ่น โดยโฮมสเตย์มีความหมายมากกว่าการ “ เป็นที่พัก” เนื่องจากเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ยึดเอารูปแบบ ที่พักเป็นศูนย์กลางและจัดให้มีกิจกรรมในด้านต่างๆ ตามความต้องการของ นักท่องเที่ยวรวมอยู่ด้วย วิถีชีวิตที่เรียบง่ายแบบสังคมชนบทถือว่าเป็นจุดขายที่สำคัญที่นักท่องเที่ยว ให้ความสนใจ การจัดกิจกรรมที่พักและได้สัมผัสกับวัฒนธรรมชนบท จึงเป็นแรงดึงดูดให้กับนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวในแหล่งชุมชนซึ่งถือว่าเป็นทางเลือกในตลาดท้องถิ่น บริการที่เสนอให้กับนักท่องเที่ยว และเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาในการพัฒนาโฮมสเตย์ มีดังนี้ วิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายแบบสังคมชนบท วัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ความปลอดภัย ความสะอาด ห้องพักพร้อมอาหาร กิจกรรมทางการท่องเที่ยว การจัดการโฮมสเตย์ การจัดกิจกรรมที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท ควรที่จะมีการรวมกลุ่มจัดตั้งในรูปของกลุ่ม/ชมรม/สหกรณ์ ซึ่งสมาชิกและคนในชุมชนจะต้องมีความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในด้านการจัดการ การจัดการบ้านพัก (Accommodation) แบบที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว ความเต็มใจของสมาชิกในครอบครัวต่อการรับผู้มาเยือน บ้านพักมีโครงสร้างที่ดี ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ไกลจากเมืองหรือพื้นที่เทศกาลหรือสถานที่ท่องเที่ยว ควรมีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นพื้นฐาน อาทิ ที่นอน หรือเตียงนอน หมอน น้ำประปาหรือถ้าไม่มีควรมีแหล่งน้ำอื่น ๆ ห้องน้ำสะอาด มีความปลอดภัย ขั้นตอนการดูแลที่พัก (Home Keeping Produce) ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับนักท่องเที่ยว...
คาเฟ่ต่อต้านความรุนแรง
คาเฟ่ต่อต้านความรุนแรงตัวอย่างการสร้างธุรกิจพร้อมร่วมสร้างสังคมจากอินเดีย SHEROES’ HANGOUT คือคาเฟ่ที่ห่างจากทัชมาฮาลเพียงครึ่งไมล์ แต่ที่นี่ไม่ได้บริการด้วยหนุ่มสาวทั่วไป หากเป็นหญิงสาวที่ถูกทำร้ายอย่างรุนแรงด้วยการสาดกรด ที่จะคอยเล่าเรื่องราวของพวกเธอให้แขกผู้มาเยี่ยมเยือน โดยหวังว่าวันหนึ่งการทำร้ายกันจะหมดไปในอินเดีย ไม่น่าเชื่อว่า การสาดกรดทำร้ายกัน เป็นความจริงที่น่าตกใจในอินเดีย สำนักงานอาชญากรรมแห่งชาติเริ่มบันทึกความรุนแรงจากการใช้กรด ประเมินว่ามีการก่ออาชญากรรมมากกว่า 1,000 ครั้งทั่วประเทศในแต่ละปี แถมยังมีคดีอีกมากที่ไม่ได้รับการแจ้งเพราะเหยื่อกลัวถูกทำร้ายซ้ำ “ ฉันรู้สึกดีใจที่กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวอินเดียที่มาเยี่ยมชมร้านกาแฟ และบอกฉันว่าพวกเขาชื่นชมความกล้าหาญของฉันมากแค่ไหน” Rupa ผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงจากกรดอายุ 22 ปีกล่าว พร้อมด้วยผู้หญิงอีกสี่คนทำงานคาเฟ่แฮงเอาท์ของ Sheroes “ ตั้งแต่นั้นมาเรามีลูกค้าประจำที่มาที่นี่ไม่เพียงแต่จะเพลิดเพลินไปกับเครื่องดื่มหรือของว่างเท่านั้น แต่ยังชอบที่จะพูดคุยกับเราด้วย” เปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2557 ที่เมืองอักกราเมืองทางตอนเหนือของรัฐอุตตรประเทศ Sheroes’ Hangout เป็นโครงการระดมทุนโดย Stop Acid Attacks กลุ่มที่มุ่งมั่นที่จะยุติการกระทำรุนแรงต่อผู้หญิง ไปสู่การฟื้นฟูผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงจากกรดในอินเดีย และทำให้เกิดกระแสปากต่อปาก ซึ่งทั้งทำให้เกิดธุรกิจ ทำให้เหยื่อมีงานทำ พร้อมสร้างความตระหนักเรื่องความรุนแรงไปพร้อมกัน “ แขกของเราส่วนใหญ่เป็นคนจากทั่วโลกที่ได้ยินเรื่องของเราในข่าว” Chanchal Kumari อายุ 20 ปีผู้รอดชีวิตคนหนึ่งที่ช่วยงานคาเฟ่กล่าว “พวกเขามาที่นี่เพื่อดูว่าผู้รอดชีวิตจากการโจมตีด้วยกรดเช่นเรารับมือกับชีวิตของเราได้อย่างไร” Saini อายุ19, เคยเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลก่อนที่จะทนทุกข์ทรมานจากกรดโดยฝีมือลูกพี่ลูกน้องชายในปี 2012 ส่งผลให้สูญเสียดวงตาข้างซ้ายของเธอ เธอไม่สามารถเล่นกีฬาได้อีกต่อไป และตอนนี้เธอมาทำบัญชีที่คาเฟ่ “ ชีวิตของฉันเปลี่ยนไปนับตั้งแต่ฉันเข้าร่วม SAA” เธอกล่าว “ ด้วยการสนับสนุนที่ฉันได้รับ ฉันฟื้นความมั่นใจที่จะออกไปข้างนอกพร้อมกับเปิดใบหน้า ตอนนี้ฉันไม่สนใจว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับใบหน้าที่เสียโฉมของฉัน” จะเห็นได้ว่า การทำธุรกิจใดๆ นั้น หากมีการเพิ่มความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ก็จะทำให้ธุรกิจนั้นดำเนินต่อไปได้ โดยเฉพาะสามารถที่จะเข้าไปอยู่ในหัวใจของลูกค้าและพัฒนาสังคมได้อีกทางหนึ่ง นับเป็นวิถีการดำเนินธุรกิจที่สมควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง โดยเฉพาะในสังคมที่เต็มไปด้วยความรุนแรงอย่างทุกวันนี้ และสำหรับทุกท่านที่สนใจ หรือกำลังเริ่มต้นลงทุนในกิจการบูติคโฮเต็ล โรงแรมเล็ก และ โฮสเทล เราขอแนะนำชุดหนังสือและซีดี Audio ที่รวบทุกเรื่องที่คุณต้องรู้ก่อนลงมือทำบูติกโฮเต็ล โฮสเทล และโฮมสเตย์ในฝันให้ประสบความสำเร็จ ถ่ายทอดโดยตรงจากนักบริหารการโรงแรมมากประสบการณ์ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จโรงแรมเล็กชั้นนำหลายแห่ง เริ่มจากแบบสำรวจตัวเอง การวิเคราะห์การลงทุน แนวคิดรูปแบบที่โดดเด่นน่าดึงดูด เงินลงทุน แหล่งเงินทุน กระบวนการวางแผนก่อนเปิดบริการ ลูกค้า การสือสาร รวมถึงวิธีการที่จะทำให้ลูกค้าประทับใจในบริการที่ดี และความรับผิดชอบต่อสังคม นำเสนอด้วยสำนวนภาษาเข้าใจง่าย ช่วยให้คุณเข้าใกล้ความสำเร็จเร็วขึ้นไปอีกขั้น (ราคาพิเศษวันนี้...
สรุปย่อภาษีที่ดินใหม่ปี63
BTBB ISSUE 45 สรุปครบ อ่านจบใน 5 นาที การเก็บ ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง แบบใหม่ 1 มกราคม 2563 ประเทศไทยจะมีการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ แทนกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และภาษีบารุงท้องที่ พ.ศ.2508 ที่ใช้กันมายาวนานกว่า 80 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย มาอ่านทำความเข้าใจแบบง่ายๆ กันเลย สรุปย่อ 1 แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ เกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และ ที่ดินรกร้าง 2 สนับสนุนการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ที่ดินรกร้างจะเสียภาษีค่อนข้างสูง 3 ใครมีบ้านหลายหลังควรจัดการให้ดี ใครมีที่ดินรกร้างควรหาอะไรทำเช่นเกษตรกรรมหรือให้เช่า หรือแบ่งแปลงที่ดินให้เล็กลง อย่างไรก็ตามเพื่อบรรเทาภาระภาษีให้กับประชาชน จึงมีการกำหนดบทเฉพาะกาลการจัดเก็บภาษีช่วง 2 ปีแรก ดังนี้ 1.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรม หากมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 75 ล้านบาท เก็บภาษี 0.01 เปอร์เซ็นต์, เกิน 75-100 ล้านบาท จัดเก็บ 0.03 เปอร์เซ็นต์, เกิน 100-500 ล้านบาท เก็บ 0.05 เปอร์เซ็นต์, เกิน 500-1,000 ล้านบาท เก็บ 0.07 เปอร์เซ็นต์ และเกิน 1,000 ล้านบาท เก็บ 0.1 เปอร์เซ็นต์ 2.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของบุคคลธรรมดาให้เป็นที่อยู่อาศัยมีชื่อในทะเบียนบ้าน ไม่เกิน 25 ล้านบาท จัดเก็บ 0.03 เปอร์เซ็นต์ หากเกิน 25-50 ล้านบาท เก็บ 0.05 เปอร์เซ็นต์ และหากเกิน 50 ล้าน...
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบบใหม่
เตรียมตัวให้พร้อม การเก็บ ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง แบบใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2563 1 มกราคม 2563 ประเทศไทยจะมีการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ แทนกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และภาษีบารุงท้องที่ พ.ศ.2508 ที่ใช้กันมายาวนานกว่า 80 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการกระจายอานาจไปสู่ท้องถิ่น และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย แต่ปัญหาคือ กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายใหม่ที่ยังต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ เนื่องจากมีความซับซ้อนในเรื่องของการคำนวณภาษีที่มีการแยกรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเติมความรู้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน เพื่อให้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน กฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า “ภาษีที่ดินใหม่” เป็นกฎหมายใหม่ที่ถูกนำมาใช้แทนพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และพระราชบัญญัติภาษีบำรุง ท้องที่ พ.ศ.2508 หรือที่ชาวบ้านเข้าใจกันง่ายๆ คือ กฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน และกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ เป็นกฎหมายที่มีการประกาศใช้นานแล้ว ทำให้การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่มีปัญหา และข้อจำกัดเกี่ยวกับฐานภาษี อัตราภาษี และการลดหย่อนภาษีไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ผลที่เกิดขึ้นก็คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดเก็บรายได้ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาท้องถิ่น รัฐบาลจำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณเพื่ออุดหนุนเพิ่มเติม โดยกฎหมายฉบับนี้ใช้เวลานานกว่า 30 ปี ในการผลักดันกระทั่งผ่านเป็นกฎหมายในที่สุด ทั้งนี้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบบใหม่นี้ มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ลดการถือครองที่ดินเพื่อเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และเพิ่มการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ทั้งนี้เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะเป็นผู้จัดเก็บภาษี โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแล ซึ่งหากมีการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้จริง ก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับ อปท.นำไปใช้พัฒนาท้องถิ่นต่อไป โดยจะเริ่มต้นดำเนินงานจัดเก็บตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 คาดการณ์กันว่า การเก็บภาษีแบบใหม่จะทำให้ภาครัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่า 40,000 ล้านบาท ท่ามกลางความตื่นตัวของผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ลุกขึ้นมาให้ความสำคัญกับการจัดการอสังหาริมทรัพย์ด้วย เกรงว่าจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่จัดเก็บรายได้ก็ต้องตื่นรู้และปรับตัวเพื่อรองรับกฎหมายใหม่ฉบับนี้ไม่แพ้กัน ดร.ไกรวุฒิ ใจคำปัน อาจารย์ประจำสำนักวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะทีมวิจัยโครงการการพัฒนาระบบบริหารจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการสนับสนุนของแผนงาน Spearhead เป้าหมายการพัฒนาภูมิภาคและจังหวัด 4.0 ภายใต้ยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคม กล่าวว่า นับจากที่ภาครัฐมีนโยบายเรื่องการจัดการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ ซึ่งเดิมเรียกว่า “ภาษีโรงเรือน” มีประเด็นที่น่าสนใจคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายๆ แห่งยังไม่มีความพร้อมในการรับมือกับระบบจัดเก็บภาษีรูปแบบใหม่ ซึ่งมีรูปแบบการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญจะต้องช่วยกันให้ความรู้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น...
HOMESTAY 101 ทำตาม 3 ข้อนี้ ไม่ผิดกฏหมาย
HOMESTAY 101ทำตาม 3 ข้อนี้ ไม่ผิดกฏหมาย ปัจจุบันมีท่านลูกเพจหลายท่านที่ยังมีข้อสงสัยในการทำ โฮมสเตย์ ว่าต้องทำอย่างไรไม่ให้ผิดกฏหมาย วันนี้เรามีหลักการง่ายๆ 3 ข้อ ที่หากท่านทำตามแล้ว จะไม่ผิดแน่นอน กรณีผู้ทำธุรกิจโฮมสเตย์ ซึ่งโดยเจตนาของกฎหมายยกเว้นให้นั้น มีเงื่อนไขอยู่ 3 ประการ หากขาดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าผิดกฎหมายโรงแรมเช่นกัน ได้แก่ ข้อหนึ่ง ต้องมีจำนวนห้องพักในอาคารเดียวกันหรือหลายอาคารรวมกันไม่เกิน 4 ห้อง และมีจำนวนผู้พักรวมกันทั้งหมดไม่เกิน 20 คน ข้อสอง ต้องเป็นกิจการที่เป็นรายได้เสริม เช่น รายได้หลักมาจากอาชีพการเกษตร และ ข้อสาม ต้องไปแจ้งให้นายทะเบียนโรงแรมทราบ เพียงเท่านี้ ท่านจะก็สามารถทำโฮมสเตย์ได้ถูกต้องแล้วครับ และสำหรับทุกท่านที่สนใจ หรือกำลังเริ่มต้นลงทุนในกิจการบูติคโฮเต็ล โรงแรมเล็ก และ โฮสเทล เราขอแนะนำชุดหนังสือและซีดี Audio ที่รวบทุกเรื่องที่คุณต้องรู้ก่อนลงมือทำบูติกโฮเต็ล โฮสเทล และโฮมสเตย์ในฝันให้ประสบความสำเร็จ ถ่ายทอดโดยตรงจากนักบริหารการโรงแรมมากประสบการณ์ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จโรงแรมเล็กชั้นนำหลายแห่ง เริ่มจากแบบสำรวจตัวเอง การวิเคราะห์การลงทุน แนวคิดรูปแบบที่โดดเด่นน่าดึงดูด เงินลงทุน แหล่งเงินทุน กระบวนการวางแผนก่อนเปิดบริการ ลูกค้า การสือสาร รวมถึงวิธีการที่จะทำให้ลูกค้าประทับใจในบริการที่ดี นำเสนอด้วยสำนวนภาษาเข้าใจง่าย ช่วยให้คุณเข้าใกล้ความสำเร็จเร็วขึ้นไปอีกขั้น (ราคาพิเศษวันนี้ เมื่อซื้อเป็นชุด) สามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้ทาง https://theboutiqueking.com/collections/books-cd #เปลี่ยนบ้านเก่าเป็นบูติคโฮเตล #homemadestay #กฏหมายสำหรับโรงแรมขนาดเล็ก #ทำโรงแรมต้องภูกกฏหมาย #theboutiqueking #การสร้างโรงแรม #ธุรกิจโรงแรม #บริหารโรงแรม ----- ขอบคุณข้อมูล เปลี่ยนบ้านเก่าเป็นบูติคโฮเตล ThaiHotelBiz -----