#บ้านกำลังใจ
ที่พักพิงผู้สูงอายุจากทั่วโลกอีกหนึ่งโอกาสทางธุรกิจสำคัญของประเทศไทย
"หนึ่งในคุณสมบัติที่ดีที่สุดของสังคมไทย คือความเคารพที่พวกเขามีต่อผู้สูงอายุ"
ด้วยรายงานในทางลบ ทั้งการล่วงละเมิด การทอดทิ้ง จนถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ชื่อเสียงของที่พักผู้สูงอายุในประเทศแถบยุโรป ได้รับความเสียหายตกต่ำอย่างมาก และเริ่มไม่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนในแถบนั้น
ตอนนี้ทำให้หลายๆ ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุต้องดูแล กำลังหาทางเลือกใหม่... โดยเฉพาะที่ประเทศไทย
ด้วยสภาพภูมิอากาศแบบเขตร้อนต้นทุนที่ลดลงและวัฒนธรรมการเคารพผู้สูงอายุ ทำให้การบริการที่พักดูแลคนชราในประเทศไทย กำลังได้รับความสนใจจากบรรดาครอบครัวในประเทศแถวยุโรปที่มีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ในบ้าน
ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดคือคลิปนี้ โดยสำนักข่าว Al-Jazeera ได้เผยแพร่รายการสารคดี Thailand's Last Resort | 101 East ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวของผู้สูงอายุชาวต่างชาติหลายคน ที่ตัดสินใจเลือกมาอยู่ที่ "บ้านกำลังใจ" ในบั้นปลายของชีวิต ซึ่งเป็นศูนย์พักพิงคนชรา 24 ชั่วโมงครบวงจร ที่กล่าวกันว่านอกจากราคาที่ถูกกว่าแล้ว ยังมีประสิทธิภาพและมีความดูแลเอาใจใส่ มากกว่าศูนย์พักพิงคนชราหลายๆแห่งในประเทศตะวันตก
เรื่องราวของ Walter Gloor ชาวสวิตซ์ ที่ได้พา ภรรยาของเขามาที่บ้านพักคนชราในเมืองเชียงใหม่เมื่อสองปีก่อน Walter Gloor และ Maya สามีภรรยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ เคยเป็นเจ้าของร้านอาหารมิชิลินสตาร์ แต่เมื่อปี 2011 Maya ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ (alzheimer) และในปี 2018 Walter และ Tanya ผู้เป็นลูกสาว ตัดสินใจพา Maya มาอยู่ที่ "บ้านกำลังใจ" ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งไม่ใช่แค่บ้านพักคนชรา แต่เป็นสถานพยาบาลที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสมอง (ความจำเสื่อม) มีผู้ดูแลปรนนิบัติตลอด 24 ชั่วโมง ในตอนแรกเพื่อนๆของ Maya ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ Walter พาภรรยาของตนเอง มาไว้ที่ "บ้านกำลังใจ" ทั้งยังต่อว่า Walter อย่างรุนแรง คล้ายกับว่า Walter พา Maya มาทิ้งไว้ในประเทศไทย แต่ Walter ให้เหตุผลว่า เพื่อนของ Maya ไม่รู้ว่าตัวของ Maya และผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์คนอื่นๆ มีอาการรุนแรงขนาดไหน ซึ่ง Walter ยังคงยืนยันคำตอบเช่นเดิมว่า
"เหตุผลหลักคือสถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับภรรยาของผม ... เราไม่สามารถหาอะไรที่ดีกว่านี้ได้ ดังนั้นผมคิดว่าเธอสมควรที่จะอยู่ในสถานที่ที่ดีที่สุดในโลก"
อีกเคส Dusko Doder อดีตสื่อมวลชนของสำนักข่าว Washington Post เมื่อ 2 ปีก่อน Dusko เกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน และมีอาการเลือดคั่งในสมอง Louise ภรรยาของ Dusko ต้องคอยดูแลเขามาโดยตลอดในบ้านของพวกเขาที่กรุงวอชังตัน ดี.ซี. ซึ่ง Dusko ไม่อยากไปอาศัยอยู่ที่บ้านคนชรา เพราะนอกจากจะไม่มีกิจกรรมอะไรให้ทำแล้ว คุณภาพในการดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุ ก็ไม่ดีเท่าที่ควรอีกด้วย จนกระทั่งต้นปี 2020 Louise ตัดสินใจพาสามีของเธอ มาอยู่ที่เชียงใหม่ และนาทีที่เธอพาสามีของเธอมาถึง "บ้านกำลังใจ" เธอก็ตกหลุมรักสถานที่แห่งนี้ทันที โดยที่เธอเห็นว่าศูนย์พักพิงคนชราแห่งนี้ สามารถดูแล Dusko ได้เป็นอย่างดี และตัวเธอเองก็ย้ายมาอยู่ที่เชียงใหม่ด้วยเช่นกัน เพราะนอกจากจะชื่นชอบบรรยากาศและวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่แล้ว เธอต้องการที่จะอยู่ช่วยดูแลสามีของเธอในช่วงบั้นปลายของชีวิต
Martin Woodtli เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุในเชียงใหม่ซึ่งมีผู้ป่วย 14 คนอาศัยอยู่ในบ้านพักและมีผู้ดูแลส่วนตัวตลอด 24 ชั่วโมง เขาร่วมก่อตั้ง"บ้านกำลังใจ" ในปี 2003 หลังจากพยายามดิ้นรนเพื่อดูแลแม่ของเขาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
“ บางทีเราต้องหารูปแบบการดูแลใหม่ ๆ เพราะระบบการดูแลผู้สูงอายุในยุโรปนั้นเริ่มใช้ไม่ได้ และมันจะเป็นปัญหาใหญ่ที่ยิ่งใหญ่มากๆ”
Martin กล่าว
ชมคลิปตัวเต็มได้ที่ https://youtu.be/i7yeiO-UZoM
นี่เป็นโอกาสอีกตัวเลือกหนึ่งในการเปิดให้บริการด้านที่พัก ในเมืองไทย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุในยุโรปที่นับวันจะทวีมากขึ้นเรื่อยๆ การคำนึงถึงหลักการออกแบบ ความรู้เรื่องสุขอนามัย และการบริการที่ใช้หัวใจนำทาง คือ Key Success ของธุรกิจนับต่อจากนี้ไป
และสำหรับทุกท่านที่กำลังริเริ่มหรือกำลังพัฒนาธุรกิจบูติคโฮเต็ล โฮสเทล และโฮมสเตย์ ที่อยากทราบขั้นตอนการทำ สร้างสรรค์ และวิธีเปลี่ยนตึกเก่าให้เป็นโรงแรมอย่างมีคุณภาพ ได้กำไร มีเอกลักษณ์ สร้างจุดขาย ถูกกฎหมายและมีความยั่งยืน เราขอแนะนำชุดหนังสือและ ซีดี audio ที่สมาคมโรงแรมไทยให้การรับรอง (ราคาพิเศษวันนี้) สามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้ทาง https://theboutiqueking.com/collections/books-cd
---------
ขอบคุณข้อมูล
AlJazeera
---------
ติดตามบทความดีๆ ด้านการสร้างสรรค์โรงแรม บูติคโฮเต็ล โฮสเทล และโฮมสเตย์ โดยทีมงานสถาปนิก ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านการออกแบบ การตลาดและการลงทุน ได้ทางเพจ เปลี่ยนบ้านเก่าเป็นบูติคโฮเต็ล : School of Creative Hotel Makers ได้ฟรีทุกสัปดาห์