ประเภทของที่พักแบบสร้างสรรค์
เนื้อหานี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพกว้างของที่พักแบบสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ เพื่อที่คุณจะได้ตัดสินใจเลือกลงทุนให้เหมาะกับตัวคุณเอง โดยจะขอไม่กล่าวถึงโรงแรมแบบมาตรฐาน เพราะสามารถหาอ่านได้ทั่วไป ที่พักแบบสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ มีดังนี้
จุดเด่นของบูติคโฮเต็ล คือ การขายประสบการณ์ที่มีความแตกต่างและเป็น เอกลักษณ์อย่างมาก ซึ่งมักเป็นประสบการณ์ที่เกิดจาก วิถีชีวิตจริงหรือสิ่งที่มีอยู่แล้ว ทําเลและจุดขายของบูติคโฮเต็ลหลายครั้งเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เช่น บรรยากาศหลังวัด ข้างโรงเรียน กลางตลาด ชุมชนที่คนอาศัยอยู่จริง โรงงานเก่า สลัม สุสาน คุกเก่า เหมืองแร่เก่า สะพานปลา ฯลฯ
บูติคโฮเต็ล มีเอกลักษณ์ในการตกแต่งไม่เน้นการบริการที่สะดวกสบายอาจมีการให้ลูกค้าบริการตัวเองในบางเรื่อง แต่สามารถเก็บค่าห้องได้ใกล้เคียงกับโรงแรมหรูโดยที่ทําเลไม่จําเป็นต้องอยู่ใกล้ย่านคมนาคม ซึ่งจะช่วยให้การลงทุนด้านทําเลลดลงไปอย่างมาก แต่มักมีความเงียบสงบเป็นส่วนตัวจํานวนห้องมักมีไม่เกิน 30 ห้อง เรียกได้ว่ามีจุดเด่นที่แตกต่างจากโรงแรมมาตรฐานโดยสิ้นเชิง
บูติคโฮเต็ล เป็นธุรกิจที่มีหัวใจอยู่ที่การนําเสนอความแตกต่างที่มีคุณค่าความคิดสร้างสรรค์ที่นําไปสู่ผลกําไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนหรือสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับชุมชนได้ จะช่วยทําให้บูติคโฮเต็ลประสบความสําเร็จมีชื่อเสียง และความโดดเด่นเหนือการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ ที่เน้นผลประโยชน์เฉพาะบุคคลเป็นหลัก ส่
วนกลุ่มลูกค้าของบูติคโฮเต็ลจะเป็นลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่มีการศึกษาดีและมีกําลังซื้อสูง
ตัวอย่างบูติคโฮเท็ล เช่น จักรพงษ์วิลล่า (กรุงเทพฯ), สามเสน 5 ลอดจ์ (กรุงเทพฯ), แทมมารีน วิลเลจ (เชียงใหม่), เมมโมรี แอท ออนออน (ภูเก็ต), Knocknock Home (มะละกา), Hotel du Petit Moulin (ปารีส) และ 42 the Calls (ลีดส์) เป็นต้น
ปัจจุบันบูติคโฮเต็ลมีการผสมผสานรูปแบบที่หลากหลาย เกิดการแยกย่อยเป็นประเภทต่างๆ มากขึ้นเช่น Budget Boutique Hotel ที่ตัดการบริการที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อลดค่าใช้จ่ายและค่าห้อง แต่ยังคงเน้นการนําเสนอประสบการณ์แปลกใหม่ Lifestyle Boutique Hotel ที่เน้นกิจกรรมของลูกค้ามากกว่าการตกแต่งหรือบริการ
มุมมองแง่การลงทุน
บูติคโฮเต็ลเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ เพราะมีการลงทุนที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับรายรับที่ได้โดยเป็นรูปแบบธุรกิจที่ดึงสิ่งต่างๆ รอบตัวมาร่วมเป็นจุดขาย ทําให้ไม่ต้องลงทุนเองมากนักการลงทุน เป็นไปได้ตั้งแต่น้อยมากไปจนถึงสูงมาก ประเด็นที่สําคัญที่สุดคือเอกลักษณ์โดยเฉพาะกรณีอาคารเก่าที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ยิ่งสามารถสร้างจุดขายได้เป็นอย่างดี รวมทั้งประสบการณ์ใหม่ที่ได้จากการเข้าพัก
ในขณะที่บูติคโฮเต็ลเน้นขายประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิต (Original Experience) ดีไซน์โฮเท็ลเป็นที่พักประเภทเน้นขายประสบการณ์ที่เกิดจากงานออกแบบที่สร้างขึ้นใหม่อย่างสวยงาม มีเอกลักษณ์ และมักเป็นสไตล์ที่เข้ากับสมัยนิยมในขณะนั้น เน้นความหรูหรา มีความสะดวกสบายสูง พร้อมทั้งยังมีรูปแบบการบริการและการบริหารที่ใกล้เคียงกับโรงแรมมาตรฐาน เพียงแต่อยู่ในรูปลักษณ์ที่โดดเด่นกว่าด้วยการออกแบบที่เป็นพิเศษ ที่พักมักมีราคาสูงอยู่ในทําเลที่ค่อนข้างดีมักอยู่ในเมืองใหญ่หรือใกล้จุดท่องเที่ยวหลัก แต่ก็มีบางแห่งที่อยู่ในทําเลที่ห่างไกลความเจริญมาก โดยที่ทําเลนั้นมักมีธรรมชาติที่งดงามเป็นพิเศษ
มุมมองแง่การลงทุน
ดีไซน์โฮเต็ล เป็นธุรกิจที่สร้างความแตกต่างด้วยการสร้างงานก่อสร้างที่มีเอกลักษณ์ ดังนั้น จึงมีการลงทุนและมีค่าใช้จ่ายในการดําเนินธุรกิจที่สูงกว่าบูติคโฮเท็ล แต่มีราคาขายที่ใกล้เคียงกัน บางกรณีสามารถนําอาคารเก่ามาปรับปรุงได้ เช่น ศาลารัตนโกสินทร์ Mo Rooms Hotel (เชียงใหม่), The Knightsbridge (ลอนดอน), The Ludlow Hotel (นิวยอร์ก),
The Waterhouse at South Bund (เซี่ยงไฮ้)
ที่พักสําหรับนักเดินทางแบบแบ็กแพ็กเกอร์ ส่วนใหญ่มักเป็นนักศึกษาหรือคนหนุ่มสาวจุดเด่น คือการได้เจอเพื่อนใหม่จากการพักรวมกันกับแขกคนอื่น ห้องนอนมักเป็นเตียงสองชั้นและใช้สิ่งอํานวยความสะดวกร่วมกัน เช่น ห้องน้ำ พื้นที่ส่วนกลาง ส่วนชักล้าง พื้นที่พระเอกของโฮสเทล คือ ล็อบบี้ที่ต้องมีบรรยากาศสนุกสนานเป็นกันเองมักมีการทํากิจกรรมร่วมกัน ระหว่างผู้เข้าพักที่เพิ่งรู้จักกันเน้นการรู้จักเพื่อนใหม่และบรรยากาศที่คึกคักมากกว่าการอยู่อย่างสงบเป็นส่วนตัวแบบบูติคโฮเต็ล ทําเลของโฮสเทลมักตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ ใกล้จุดคมนาคมขนส่งเพราะนักท่องเที่ยวแบบแบ็กแพ็กเกอร์มีงบประมาณในการท่องเที่ยวไม่สูงนัก ไม่สามารถรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไกลๆ ได้
แต่ปัจจุบันเกิดการผสมผสานรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างเข้าด้วยกัน เช่น เริ่มมีโฮสเทล ที่อยู่นอกทําเลย่านใจกลางเมือง และยังสามารถประสบความสําเร็จได้ เช่น The Yard ในซอยราชครู กรุงเทพฯ ซึ่งแม้จะไม่ได้ตั้งอยู่ในย่านศูนย์กลาง แต่การเช่าพื้นที่ที่ห่างไกลออกไป ทําให้ได้พื้นที่ที่กว้างกว่าโฮสเทลใจกลางเมืองที่ติดรถไฟฟ้า ซึ่งกลายเป็นจุดเด่นของที่พักที่ไม่เหมือนใคร
รวมถึงเริ่มมีกระแสโฮสเทลที่ไปตั้งอยู่ตามธรรมชาติป่าเขาหรือทะเล เช่น Pajamas Koh Chang ซึ่งนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะโฮสเทลยุคแรกของโลกก็ตั้งอยู่ในชนบทเช่นกัน เนื่องจากขณะนั้นมีความต้องการสนับสนุนให้นักเรียนในเมืองใหญ่ที่ไม่ค่อยมีฐานะ ได้มีโอกาสท่องเที่ยวไปในชนบทได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างและหัดช่วยเหลือตัวเอง ได้พักในที่พักราคาไม่แพง และมีความสะดวกสบายตามฐานะของนักเรียน
หรือเกิดการรวมกันระหว่างบูติคโฮเต็ลและโฮสเทล กลายมาเป็น Luxury Hostel เช่น Adler Hostel ที่สิงคโปร์ ที่เน้นความเป็นส่วนตัวหรูหราแบบบูติคในห้องที่นอนรวมกัน ทําให้สามารถขายที่พักต่อเตียงได้ในราคาที่สูงกว่าโฮสเทลข้างเคียงอื่นๆ ถึง 50 เปอร์เซ็นต์
มุมมองแง่การลงทุน
กระแสของโฮสเทลทุกวันนี้ เน้นไปที่กิจกรรมบาร์และปาร์ตี้เป็นหลัก ขณะที่ยังมีกลุ่มลูกค้าอื่นๆ ที่น่าสนใจอีก เช่น กลุ่มนักท่องเที่ยวครอบครัว ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกําลังซื้อสูง รวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ซึ่งต้องการบรรยากาศการเข้าพักแบบแฮงเอาต์เช่นกัน แต่กลับไม่ค่อยมีนักลงทุนให้ความสนใจในลูกค้ากลุ่มนี้มากนัก
เป็นรูปแบบธุรกิจที่พักที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ที่มนุษย์รู้จักการเดินทางข้ามถิ่นฐานเป็นครั้งแรก และไม่สามารถกลับถึงที่พักอาศัยได้ภายในวันเดียว Bed and Breakfast (B&B) จึงเป็นที่พักที่มีรูปแบบการให้บริการที่เรียบง่ายที่สุด เพียงที่นอนกับอาหารเช้าเท่านั้น ไม่เน้นบริการใดๆ เสริมทั้งสิ้น
สถานที่พักอาจเป็นได้ตั้งแต่เรียบง่ายไปจนถึงหรูหรา ตั้งแต่ปราสาทราชวังจนถึงรังหนูยาจก B&B มีความคล้ายคลึงกับโฮมสเตย์ตรงที่ช่วงกลางวันเจ้าของบ้านอาจออกไปทําธุรกิจอื่น ส่วนความแตกต่างก็คือ B&B ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อชุมชนเป็นหลักแบบโฮมสเตย์ ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพแวดล้อมในเมืองใหญ่มากกว่าชนบท เป็นธุรกิจที่พบมากในประเทศแถบยุโรป อเมริกา รวมถึงประเทศญี่ปุ่น
ปัจจุบันธุรกิจนี้แพร่หลายไปทั่วโลกเพราะผู้คนนําบ้านหรือสถานที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาทําธุรกิจนี้ ตามแนวคิด "เศรษฐกิจแบ่งปัน" (Sharing Economy) และเกิดเป็นการผสมผสาน Bed and Breakfast รูปแบบใหม่ๆ เช่น Luxury Bed and Breakfast ที่เน้นความหรูหรา Lifestyle Bed and Breakfast ที่เน้นกิจกรรมของผู้เข้าพัก
มุมมองแง่การลงทุน
ใช้เงินลงทุนไม่มาก ไม่มีความเสียง อย่างไรก็ตาม Bed and Breakfast บางแห่งมีความใกล้เคียงกับบูติคโฮเต็ล เพราะเน้นการตกแต่งที่สวยงาม รวมถึงมีการบริการที่ใกล้เคียงกับโรงแรม เพียงแต่ให้บริการเฉพาะที่นอนกับอาหารเช้าเท่านั้น
ผู้ที่สนใจลงทุนมักเป็นกลุ่มคนสูงอายุที่มีพื้นที่บ้านอยู่แล้วโดยที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์และมีใจรักบริการ ตัวอย่าง Bed and Breakfast ที่มีชื่อเสียงโด่งดังได้แก่ Cabins (สหรัฐอเมริกา), Albertines BeechWorth (ออสเตรเลีย), Porta Garibaldi Bed and Breakfast (อิตาลี) และ Mon Lodge & Yoga (กรุงเทพฯ) เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีที่พักที่น่าสนใจอีกหลายประเภท เช่น เกสต์เฮาส์ซึ่งเป็นธุรกิจที่พัก ยุคแรกๆ เน้นประโยชน์ใช้สอยและคุณภาพพื้นฐาน เช่น ความสะดวก ความสะอาด ราคาถูก ไม่เน้นจุดขายที่โดดเด่นแบบบูติคโฮเต็ล หรือเน้นการออกแบบอย่างดีไซน์โฮเท็ล และไม่ได้มีแนวคิดในการแบ่งปันหรืออนุรักษ์ อย่าง Bed and Breakfast หรือโฮมสเตย์
คือที่พักที่ชาวบ้านหรือชุมชนในท้องถิ่นเปิดบ้านหรือชุมชนของตนให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการเรียนรู้วิถีชีวิต ได้เข้ามาพักอาศัยในบรรยากาศที่ชาวบ้านอยู่อาศัยกันจริงๆ โดยมีการปรับเปลี่ยนน้อยมาก
โฮมสเตย์ไม่เน้นความสะดวกสบายแบบโรงแรม แต่เน้นความรู้สึกในการมาพักแบบญาติพี่น้อง ดูแลแบบเป็นกันเอง โดยให้สิ่งอํานวยความสะดวกแบบบ้านๆ หลายครั้งโฮมสเตย์อยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกล แต่มีจุดเด่นที่ผู้เข้าพักจะได้สัมผัส คือ การได้เรียนรู้ชีวิตจริง ท่ามกลางธรรมชาติที่ปราศจากการปรุงแต่ง
ทำเลของโฮมสเตย์อยู่ได้ในทุกที่ เพราะทุกที่ที่มีมนุษย์ย่อมมีความแตกต่าง และมีเรื่องราวใหม่ๆ ให้เรียนรู้เสมอ โฮมสเตย์ยุคแรกในต่างประเทศเกิดขึ้นเมื่อมีนักเรียนต่างชาติเดินทางไปศึกษาต่อ และมีความต้องการพักอาศัยในที่พัก ที่ราคาไม่แพง มีความปลอดภัย มีบริการอาหาร และการแนะนําในการใช้ชีวิตจากเจ้าบ้าน
ปัจจุบันหลายประเทศมีนโยบายสนับสนุนธุรกิจโฮมสเตย์ เพราะเป็นการกระจายรายได้อย่างแท้จริง และไม่มีความเสียง เนื่องจากชาวบ้านนําบ้านที่อาศัยอยู่มาให้บริการ ทั้งยังช่วยให้ชุมชนนั้นสามารถอนุรักษ์ธรรมชาติและวัฒนธรรมได้ด้วย
โฮมสเตย์บางแห่งมีจุดขายที่ชัดเจน เช่น มีกิจกรรมทางประเพณีที่น่าสนใจให้แขกได้เข้าร่วม มีธรรมชาติอันเป็นเอกลักษณ์ให้แขกได้สัมผัสประสบการณ์ กําไรจากการประกอบธุรกิจมักนําไปใช้ในการสร้างประโยชน์ให้ชุมชน เช่น ด้านการศึกษา การอนุรักษ์ สาธารณสุข
ทุกวันนี้โฮมสเตย์มีการผสมผสานรูปแบบมากขึ้น เกิดเป็นโฮมสเตย์รูปแบบใหม่ๆ เช่น City Homestay เป็นการเปิดบ้านของคนเมืองให้แก่แขกได้เข้าพัก Lifestyle Homestay เน้นกิจกรรมในการเข้าพัก Design Homestay ที่ผสมผสานการออกแบบที่ให้สวยงามให้เข้ากับบ้านพักแบบเดิม โฮมสเตย์บางแห่งสามารถเก็บค่าที่พักได้ใกล้เคียง หรือแม้แต่แพงกว่าโรงแรมด้วยซ้ำ นอกจากนี้ยังเกิดกลุ่มที่พักที่แตกออกไปจากโฮมสเตย์อีกมากมาย เช่น Farm Stay, School Stay, Shop Stay, Village Stay และ Temple Stay เป็นต้น
มุมมองแง่การลงทุน
ธุรกิจโฮมสเตย์ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำสุดและมูลค่าเพิ่มสูงสุด เพราะเน้นการนำบ้านพักอาศัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ หลายแห่งที่เปิดต้อนรับแขกเฉพาะเวลาที่เจ้าบ้านว่างจากงานประจำ เช่น ทำเกษตรกรรม จึงถือเป็นรายได้เสริมที่ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหรือต้องมีการลงทุนเพิ่มแต่อย่างใด การเปิดโฮมสเตย์หลายครั้งยังช่วยแก้ปัญหาชุมชน เช่น สภาพแวดล้อมจะต้องสะอาดสวยงามก่อน ถึงจะพร้อมเปิดให้แขกเข้ามาพักได้ มีการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงาม สร้างความสามัคคีระหว่างผู้คนจากต่างวัฒนธรรม และยังช่วยสร้างโอกาส เช่น การศึกษา การเรียนรู้วัฒนธรรม การสร้างรายได้เสริมนอกฤดูการเกษตร