ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจที่พักแบบสร้างสรรค์
1. ค่าใช้จ่ายด้านอาคาร สถานที่ และอุปกรณ์ที่สึกหรอ
ทุนก้อนใหญ่ที่สุดในการเริ่มต้นธุรกิจที่พักคือการเลือกซื้อทําเล ในทางกลับกันกําไรก้อนแรกของการทําธุรกิจที่พัก ควรมาจากความสามารถในการเลือกทําเลที่ไม่ดีมีราคาถูก แล้วค่อยๆสร้างจุดขายขึ้นมา โดยเฉพาะถ้าสามารถเลือกสถานที่ลงทุนที่มีอาคารเก่าอยู่แล้ว จะเป็นการประหยัดทั้งค่าก่อสร้างและระยะในการก่อสร้าง แต่ประเด็นที่สําคัญ คือต้องวิเคราะห์รูปแบบการตกแต่งให้ออกว่า แบบไหนที่สามารถขายได้อย่างต่อเนื่องยาวนานเพราะธุรกิจที่มีเงินทุนน้อยมักไม่สามารถลงทุนตกแต่งอาคารได้ทุกๆ 5 ปี ตามอย่างที่โรงแรมขนาดใหญ่ทํา จึงควรเลือกสไตล์ที่เหนือกว่าความต้องการของลูกค้า เพื่อจะได้ไม่ต้องลงทุนเปลี่ยนตัวเองไปตามกระแสของตลาดอยู่เรื่อยๆ
อีกเรื่องที่มีความสําคัญ คือ การวางระบบน้ําระบบไฟ ซึ่งควรลงทุนใช้ของดีมีประสิทธิภาพสูงตั้งแต่เริ่มแรก เพราะจะช่วยลดค่าดําเนินการไปได้มากกว่าการซ่อมแซม และการปรับปรุงงานระบบตลอดเวลายังเป็นการรบกวนลูกค้า และทําให้เสียรายได้ด้วย
2. ค่าใช้จ่ายด้านบุคคล
ในช่วงดําเนินธุรกิจค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงพอๆกับค่าอาคารสถานที่ และค่าการตลาดที่พัก และควรมีการจ้างงานภายนอก (Outsource) ให้มากที่สุด ตั้งแต่ค่าจ้างแม่บ้าน ค่าซักผ้า ค่าซ่อมบํารุงบูติคขนาดเล็กที่เปลี่ยนมาจากบ้านเก่าหลายแห่ง ใช้วิธีเลือกรับเฉพาะลูกค้าที่พักเป็นจํานวน 2 คืนขึ้นไป และรับเฉพาะช่วงเวลาที่มีแรงงาน เช่น ตั้งแต่วันพฤหัสบดีไปจนถึงวันเสาร์ โดยที่ยังสามารถนําการรับลูกค้าแบบนี้มาเป็นจุดขาย ที่ชัดเจนได้อีกด้วย
การลดพนักงานหน้าเคาน์เตอร์สามารถทําได้โดยเลือกรับเฉพาะลูกค้าที่จองมาล่วงหน้าและชําระค่าที่พักเรียบร้อยแล้ว ในแง่นี้ที่พักขนาดเล็กหลายแห่งที่มีขนาดใกล้เคียงกันสามารถรวมตัวกันเพื่อจ้างพนักงานเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยให้แต่ละแห่งมีค่าใช้จ่ายที่ลดลงได้
3. ค่าใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่ม
ควรออกแบบให้มีเมนูเฉพาะอย่างให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ทั้งในเรื่องสไตล์และปริมาณ ที่พักบางแห่งสร้างจุดขายด้วยการเสิร์ฟเฉพาะขนมเพื่อสุขภาพ ผลไม้สด น้ําผลไม้ หรือโยเกิร์ตชั้นดี โดยสร้างจุดขายเป็นที่พักเพื่อสุขภาพ ซึ่งช่วยให้ประหยัดค่าอาหารได้มากกว่าการทําบุฟเฟต์ไลน์ในมือเช้า ที่มักมีอาหารเหลือทิ้งจํานวนมาก
บางแห่งมีเมนูเอกลักษณ์ที่คัดสรรแล้วให้ลูกค้ารับประทาน ซึ่งความจริงแล้วก็คือ การเลือกเมนูให้ลูกค้าเลย โดยลดความหลากหลายของรายการอาหารลง ซึ่งเท่ากับเป็นการลดรายจ่าย แต่ทั้งหมดนี้ต้องมีการสื่อสารเรื่องคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับอย่างต่อเนื่องและ สม่ําเสมอ
4. ค่าใช้จ่ายด้านน้ําไฟและสัญญาณลิขสิทธิ์ต่างๆ
ในโรงแรมมาตรฐานเป็นเรื่องยากที่จะขอให้ลูกค้าช่วยประหยัดสิ่งเหล่านี้ แต่ในที่พักแบบสร้างสรรค์ เราสามารถสร้างจุดขายให้ลูกค้าได้รับคุณค่าประสบการณ์ที่ดีไปพร้อมกับการช่วยเราประหยัดค่าใช้จ่ายได้ หรือกระทั่งไม่จําเป็นต้องมีโทรทัศน์ในห้อง บางแห่งถึงกับไม่มีสัญญาณไวไฟให้ เพราะสร้างจุดขายว่าต้องการให้ลูกค้าได้พักผ่อนอย่างแท้จริง และผู้ลงทุนเองก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปได้ด้วย
5. ด้านการตลาด
โดยทั่วไปที่พักต่างๆ จะเสียค่าการตลาดให้กับ Booking Agent ประมาณ 15-30 เปอร์เซ็นต์ สิ่งนี้สามารถแก้ไขได้ โดยการรวมกลุ่มกันกับที่พักที่มีจุดขายและราคาใกล้เคียงกัน เพื่อร่วมกันทําการตลาดตรงกับกลุ่มลูกค้า หรือทําการตลาดผ่านบล็อกเกอร์และโซเชียลมีเดียต่างๆ
เมื่อเห็นรายละเอียดค่าใช้จ่ายในชั้นต่างๆ แล้ว ลองกรอกตารางด้านล่างนี้ เพื่อดูว่าที่พักของคุณมีจุดขายอะไร สามารถตัดค่าใช้จ่ายอะไรออกไปได้ ลูกค้าจะยังได้คุณค่าอะไร และคุณจะมีวิธีสื่อสารกับลูกค้าอย่างไร เช่น
เมื่อมีการตัดค่าใช้จ่าย ก็ต้องมีการใช้เครื่องมือช่วยเพิ่มเติม ดังตัวอย่างต่อไป
สําหรับการปฏิบัติจริงนั้น แต่ละที่พักต้องออกแบบจุดขาย และบริหารแบบต้นทุนต่ำให้สอดคล้องกับสภาพของตนเองโดยไม่มีสูตรสําเร็จตายตัว แต่ขอย้ำหลักคิด 3 ข้อ คือ
1. มุ่งมั่นที่จุดขายของเราเป็นหลัก
2. เมื่อตัดอะไรออกแล้ว ต้องสื่อสารให้ลูกค้ารับทราบว่า เขาจะได้คุณค่าอะไรมาทดแทน
3. ต้องลดค่าใช่จ่ายประจำให้เหลือต่ำสุด
การทําธุรกิจที่พักแบบสร้างสรรค์นั้น มีงบประมาณที่ต้องใช้ใน 2 ช่วงเวลาคือ
• Investment Cost ประกอบด้วย ค่าที่ดิน ค่าก่อสร้างซ่อมแซมอาคารค่าอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องพัก เป็นต้น
• Operation Cost ประกอบด้วย ค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ํา-ไฟ ค่าเช่าสัญญาณต่างๆ และค่าการตลาด เป็นต้น
โดยสามารถแบ่งตามช่วงเวลาได้เป็น 3 ช่วง คือ ก่อนลูกค้ามาถึง ระหว่างที่ลูกค้าอยู่ และเมื่อลูกค้ากลับไปแล้ว
แต่สุดท้ายแล้ว สิ่งสําคัญที่สุดที่จะทําให้ทุกอย่างเป็นไปได้ในแบบที่คุณต้องการก็คือ “จุดขายที่โดดเด่น” และ “การสื่อสารจุดขายกับลูกค้าอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง”
ปัจจัยวัดความสําเร็จของธุรกิจที่พักแบบสร้างสรรค์
ธุรกิจที่พักขนาดเล็กนั้นจะประสบความสําเร็จหรือไม่ ดูได้จากปัจจัย 3 ประการ
1. ธุรกิจนั้นมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับหรือไม่
2. ธุรกิจนั้นมีผลประกอบการดีต่อเนื่องหรือไม่
3. ธุรกิจนั้นมีผู้มาติดต่อขอซื้อหรือไม่
ทั้งสามข้อล้วนมีความสําคัญ เพราะการที่สินค้ามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ หมายถึงโอกาสในการขยายธุรกิจ การขายกิจการ การเข้ามาเป็นหุ้นส่วน การเพิ่มทุน หรือการทําการค้าต่อเนื่องอื่นๆ แต่สินค้าที่ได้รับการยอมรับก็อาจจะไม่ใช่สินค้าที่ขายดี และสินค้าที่ขายดีก็อาจไม่ใช่สินค้าที่ได้รับการยอมรับเช่นกัน สิ่งที่ชี้วัดถึงอนาคตทางธุรกิจได้ดีที่สุด คือ ข้อ 3 ถ้าโครงสร้างและระบบการจัดการทางธุรกิจของคุณดีจริง ในเวลาไม่นานก็จะมีนักลงทุนมาขอซื้อหรือเช่าช่วงกิจการ
ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือ Homemade Stay "Small Is Beautiful" หาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั้วประเทศ