ทำโรงแรมให้ถูกกฏหมาย โดย The Boutique King

Natthika Wanglabcharoen

คำแนะนำแบบ EXCLUSIVE โดย วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ ผู้บุกเบิกธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กในประเทศไทย กูรูแห่งวงการบูติคโฮเต็ล ของประเทศไทย

การทำธุรกิจโรงแรม ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ ย่อมมีทั้งปัจจัยแห่งความสำเร็จ และปัจจัยแห่งความล้มเหลวควบคู่กัน และปัจจัยแห่งความล้มเหลวอันดับที่ 1 ก็คือการทำโรงแรมผิดกฎหมายไม่มีใบอนุญาต ซึ่งนี่คือประเด็นที่ สำคัญที่สุดของคนทำธุรกิจ เพราะโทษจากการทำโรงแรมเถื่อน คือการถูกจับปรับไปจนถึงปิดกิจการ คงไม่มีใครที่อยากให้โรงแรมของตัวเองที่ลงทุนด้วยน้ำพักน้ำแรงและน้ำเงินมหาศาลนั้นต้องเผชิญชะตากรรมเช่นนี้           

นี่คือปัญหาระดับชาติ ที่รัฐบาลเองไม่ได้นิ่งนอนใจ ที่ผ่านมาจึงได้มีการออกกฎหมายเพื่อผลักดันโรงแรมเถื่อนเหล่านี้ให้เข้าระบบให้มากที่สุด โดยเฉพาะกรณีที่เปลี่ยนอาคารเก่าประเภทอื่นมาเป็นโรงแรมจำนวนมากทั่วประเทศ  ดังนั้นในวันที่ 19 สิงหาคม 2559 ได้มีการออก  กฎกระทรวงกําหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2559 ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2552   ที่อนุญาตให้ผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนอาคารประเภทอื่นมาเป็นโรงแรมได้  รวมถึง ในวันที่ 12 มิถุนายน2562 ที่คสช.ได้ออกประกาศ มาตรา44 ที่มีประเด็นสำคัญมากโดยเฉพาะเรื่องการปลดล็อคผังเมือง สำหรับผู้ที่ทำโรงแรมขนาดเล็กในพื้นที่ห้ามทำโรงแรม ล่าสุดวันที่ 21 สิงหาคม 2562 ที่ได้มีการประกาศหนังสือด่วนจากกระทรวงมหาดไทยเพิ่มเติมเพื่อ ให้ผู้ที่ทำโรงแรมผิดกฎหมายนั้นไปรายงานตัวต่อหน่วยงานที่ดูแลด้านการขออนุญาตอาคารในพื้นที่ทั่วประเทศภายในวันที่9กันยายน2562 เพื่อแลกกับการยกเว้นโทษจับโรงแรมผิดกฎหมาย !!! ไปจนถึง18สิงหาคม2564 ถือเป็นการปลดล็อกที่ช่วยผู้ประกอบการแบบสุดซอยในมาตรการสุดท้าย          

สถานการณ์ร้อนแรงเหล่านี้ มีรายละเอียดเป็นอย่างไรและสำหรับผู้ประกอบการจะมีทางออกอย่างไร ควรไปแจ้งรายงานตัวกับทางการหรือไม่ เราไปคุยกับ วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ ผู้บุกเบิกธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กในประเทศไทย จนกระทั่งสื่อระดับโลก อย่างNational Geographic ยังต้องมาสัมภาษณ์ รวมถึงยังเป็นผู้ที่ก่อตั้งหลักสูตร เปลี่ยนบ้านเก่าเป็นบูติคโฮเต็ล ที่สร้างผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กที่โดดเด่นกว่า100แห่ง จนกระทั่งถูกเรียกว่า THE BOUTIQUE KING หรือ กูรูแห่งวงการบูติคโฮเต็ล ของประเทศไทยกัน 

คำถาม : ทำไมถึงมีโรงแรมขนาดเล็กที่ผิดกฎหมายในประเทศไทยมากมายขนาดนี้ ?

คำตอบ:เพราะประเทศเราเต็มไปด้วยโอกาสทางธุรกิจ           

ช่วงเวลาที่ผ่านมาก่อนปี 2559 นั้นกฎหมายสำหรับโรงแรม เป็นกฎหมายที่เขียนขึ้นสำหรับการสร้างโรงแรมใหม่ จนกระทั่งสิงหาคม 2559 จึงมีการออกกฎหมายสำหรับการอนุญาตให้เปลี่ยนอาคารเก่ามาเป็นโรงแรมได้ คือ กฎกระทรวงกําหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรมปี 2559   สาระก็คือเป็นการผ่อนผันในเรื่องพื้นที่หลายๆอย่างที่เคยเป็นข้อจำกัด โดยเฉพาะเรื่องของทางเดิน บันไดหนีไฟและพื้นที่ว่างเป็นต้น ซึ่งกฎหมายปี 59 ได้ทำการลดหย่อน เพื่อช่วยให้ผู้ที่เปลี่ยนตึกเก่ามาเป็น โรงแรมที่เคยติดเรื่องระยะต่างต่าง สามารถทำได้โดยง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก   แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีผู้ประกอบการจำนวนมากไม่สามารถทำให้ถูกกฎหมายได้  ผมมองว่ามี 2 ประเด็นคือ

ประเด็นที่ 1 การประชาสัมพันธ์กฎหมายค่อนข้างน้อย ผู้ประกอบการแทบจะไม่รู้เรื่องเลยรวมถึงเจ้าหน้าที่ภาครัฐเองด้วย  จนปัจจุบันกฎหมายเหลือเวลาอีก 2 ปีจะหมดอายุแล้ว น่าเศร้าใจที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง หรือองค์กรวิชาชีพอย่างสภาสถาปนิก หรือ วิศวกรรมสถานไม่เคยเผยแพร่เรื่องเหล่านี้ รวมถึงตัวแทนภาคเอกชนอย่างหอการค้า  เพิ่งจะตื่นนอนมาเริ่มประชาสัมพันธ์กันตอนกฏหมายใกล้หมดอายุ

 

ประเด็นที่2 คือ  ถึงแม้กฎหมายจะผ่อนผันเรื่องระยะต่างๆไปมาก  แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ไม่สามารถทำได้เพราะไม่อยากจะทุบตึก เพื่อแก้ไขดัดแปลงตามที่กฎหมายได้กำหนดระยะพื้นที่เอาไว้ กลุ่มคนเหล่านี้เมื่อไม่อยากแก้ไขดัดแปลง หรือแก้ไขได้ยาก เป็นที่เช่า ต้องลงทุนเยอะ ไม่คุ้มที่จะทำ  จึงยังคงเป็นกลุ่มโรงแรมผิดกฏหมายต่อไป ซึ่งผลที่เกิดขึ้นคือ เมื่อกฎหมายหมดอายุ เดือนสิงหาคมปี 64 หรือแม้กระทั่งในปัจจุบันกลุ่มเหล่านี้จึงเป็นกลุ่มที่จะถูกจับ ปรับปิดกิจการได้           

ปัญหาหลักคือกลุ่มเหล่านี้ มีปริมาณเป็นจำนวนมากมากกว่ากลุ่มที่ถูกกฎหมาย ซึ่งทาง คสช ที่เพิ่งหมดอายุไป ไม่ได้นิ่งนอนใจ จึงได้ออกมาตรา 44 มาอีก 1 ฉบับและจดหมายเวียนจากมหาดไทย.อีก1ฉบับช่วงเพื่อช่วยกลุ่มคนเหล่านี้

คำถาม : มาตรา 44 และ จดหมายเวียน  2 ฉบับมีรายละเอียดอย่างไรบ้างช่วยสรุปให้ผู้ประกอบการฟัง 

คำตอบ: คำสั่ง คสช. มาตรา44 ฉบับแรกออกมาเมื่อ 12 มิถุนายน 2561 มีประเด็นหลักที่สำคัญมากๆคือ อนุญาตให้ผู้ที่เป็นอาคารเก่าเป็นโรงแรม สามารถทำกิจการโรงแรมในพื้นที่ผังเมืองห้ามทำโรงแรมได้ โดยต้อง

ทำให้สำเร็จได้รับใบอนุญาตการเปลี่ยนแปลงการใช้งานอาคาร ก่อนกฎหมายปี 59 หมดอายุซึ่งกฎหมายนี้จะหมดอายุภายใน 18 สิงหาคมปี 2564 ข้อนี้เป็นประเด็นหลักที่สำคัญที่สุด            

อย่างไรก็ตามยังคงมีผู้ประกอบการผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม2562 จึงได้มีหนังสือด่วนที่สุดฉบับหนึ่ง จากปลัดกระทรวงมหาดไทย ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ   สาระหลักคืออนุญาตให้ผู้ที่ทำโรงแรมผิดกฎหมายอยู่แล้ว สามารถไปแจ้งรายงานตัว กับหน่วยงานท้องถิ่นที่ดูแลเรื่องการก่อสร้างภายในวันที่9กันยายน2562  โดยประโยชน์จากการไปแจ้งคือโรงแรมแห่งนั้นจะได้รับการยกเว้นโทษจับ  ไปจนกระทั่งวันเวลาที่กฎหมายนี้หมดอายุในเดือนสิงหาคม 2564 นี่คือโอกาสสำคัญที่สุดสำหรับคนที่ทำโรงแรมและยังผิดกฎหมายอยู่แล้วไม่ต้องการโดนจับครับ คำถาม : แจ้งแล้วจะเป็นการรายงานตัวว่าเราทำผิดกฎหมายหรือไม่ คำตอบ : ถูกต้องครับ แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือคุณจะได้รับการยกเว้นโทษจับ ดังนั้นถ้าถามว่าใครบ้างควรจะไปแจ้ง  คนนั้นต้องเป็นคนที่ศึกษา กฎกระทรวงกําหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรมปี 2559 มาแล้วเป็นอย่างดี และพร้อมที่จะดัดแปลงอาคารของตนให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้นจึงไปแจ้ง  เพราะถ้าไปแจ้งแล้วคุณไม่ทำให้ถูกกฎหมาย เมื่อถึงเวลาจับคุณจะกลายเป็นคนที่โดนจับกลุ่มแรกทันที

บางคนกลัวเรื่องเข้าระบบแล้วต้องจ่ายภาษ๊ แต่ภาษีนั้นก็กลับมาพัฒนาประเทศ  ที่สำคัญคือการเข้าระบบช่วยเรื่องความมั่นคงได้ เพราะทุกโรงแรมจะต้องส่งข้อมูลผู้มาพักให้กับ ตม. ภายใน24ชั่วโมง คงไม่มีใครอยากให้โรงแรมของตัวเองเป็นที่พักผู้ก่อเหตุไม่สงบ หรือผู้ค้ายาเสพติด ถ้าคนเหล่านี้มาอยู่ในโรงแรมของเรา โดยที่เราไม่แจ้งตม. เจ้าของจะโดนคดีอาญาไปด้วย

คำถาม: ถ้าทำโรงแรมไม่ได้จะมีทางออกอย่างไรบ้าง ?

คำตอบ : ก็ต้องเลี่ยงไปทำสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งกำหนดว่าถ้ามีห้องพักรวมกันไม่เกิน4ห้อง นับเฉพาะห้องที่เอามาขายนะครับ  ในอาคารหลังเดียวหรือหลายหลัง และมีผู้เข้าพักไม่เกิน20คน ไม่ถือว่าเป็นโรงแรม แต่จะเรียกว่าเป็น สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ซึ่งต้องจดทะเบียนกับกรมการปกครองและส่งข้อมูลผู้มาพักให้กับ ตม. เช่นกัน

คำถาม : รายละเอียดเยอะมากครับ ทราบว่าอาจารย์เขียนหนังสือกฎหมายสำหรับโรงแรมขนาดเล็ก ที่อธิบายเรื่องนี้ไว้ด้วย หาซื้อได้ที่ไหนบ้าง ?

คำตอบ : ใช่ครับ เป็นหนังสือที่ผมเขียนร่วมกับคุณ จิตติพันธ์ ศรีกสิกรณ์ ผู้ร่วมก่อตั้ งLub D Hostel ที่เป็นนักทำโรงแรมที่เชี่ยวชาญกฏหมายฉบับนี้มากที่สุดคนหนึ่งของบ้านเรา  ใช้เวลาเขียนถึง2ปีเต็ม ผ่านการตรวจทางกว่า20รอบ โดย อาจารย์อนวัช บูรพาชน วิศวกรเชี่ยวชาญ กรมโยธาธิการและผังเมือง รวมถึงได้รับการเขียนคำนิยม โดยท่านอดีตรัฐมนตรีวีระศักดิ์ โค้วสุรัตน์  เราเขียนด้วยภาษากระชับ เข้าใจง่าย และสรุปกฎหมายที่ซับซ้อนออกมาเป็นรูปภาพ ใครอยากเข้าใจกฎหมายให้ถ่องแท้ ไม่ผิดหวังแน่นอนครับ ซิ้อได้ในwww.theboutiqueking.com ครับ

 

และสำหรับทุกท่านที่สนใจ หรือกำลังเริ่มต้นลงทุนในกิจการบูติคโฮเต็ล โรงแรมเล็ก และ โฮสเทล เราขอแนะนำชุดหนังสือและซีดี Audio ที่รวบทุกเรื่องที่คุณต้องรู้ก่อนลงมือทำบูติกโฮเต็ล โฮสเทล และโฮมสเตย์ในฝันให้ประสบความสำเร็จ ถ่ายทอดโดยตรงจากนักบริหารการโรงแรมมากประสบการณ์ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จโรงแรมเล็กชั้นนำหลายแห่ง เริ่มจากแบบสำรวจตัวเอง การวิเคราะห์การลงทุน แนวคิดรูปแบบที่โดดเด่นน่าดึงดูด เงินลงทุน แหล่งเงินทุน กระบวนการวางแผนก่อนเปิดบริการ ลูกค้า การสือสาร รวมถึงวิธีการที่จะทำให้ลูกค้าประทับใจในบริการที่ดี นำเสนอด้วยสำนวนภาษาเข้าใจง่าย ช่วยให้คุณเข้าใกล้ความสำเร็จเร็วขึ้นไปอีกขั้น

(ราคาพิเศษวันนี้ เมื่อซื้อเป็นชุด) สามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้ทาง https://theboutiqueking.com/collections/books-cd

 

#เปลี่ยนบ้านเก่าเป็นบูติคโฮเตล

#homemadestay

#กฏหมายสำหรับโรงแรมขนาดเล็ก

#ทำโรงแรมต้องภูกกฏหมาย

#theboutiqueking

 

#การสร้างโรงแรม

#ธุรกิจโรงแรม

#บริหารโรงแรม

----- ขอบคุณข้อมูล เปลี่ยนบ้านเก่าเป็นบูติคโฮเตล

BANGKOKBIZNEWS -----



Older Post Newer Post